Effects of a Self-management Support Program for Thai People Diagnosed with Metabolic Syndrome

Authors

  • Nattaya Suwankruhasn RN, PhD Candidate, Faculty of Nursing, Chiang Mai University, Thailand
  • Linchong Pothiban RN, DSN, Associate Professor, Faculty of Nursing, Chiang Mai University, Thailand
  • Sirirat Panuthai RN, PhD, Assistant Professor, Faculty of Nursing, Chiang Mai University, Thailand
  • Pikul Boonchuang RN, PhD, Associate Professor, Faculty of Nursing, Chiang Mai University, Thailand

Keywords:

Self-management support, Eating behavior, Physical activity, Metabolic control, Metabolic syndrome, Intervention program

Abstract

This randomized control trial examined the effects of the Self-management Support Program for People with Metabolic Syndrome on eating behaviors, physical activity,and metabolic control in three hospitalsinNorthern Thailand.Eighty-six participants who met the inclusion criteria were randomly assigned to either an experimental (n=44) or control (n=42) group.The experimental group received a self-management support program based on the self-management 5A model by Glasgow and colleagues, while the control group received standard care. The program duration was three months, and included six sessions; once a week for the first four weeks, then monthly for the second and third months.The sessions covered oneeducation (diet and physical activity) session, three self-management skill training sessions, and two discussion sessions.Data was collected at baseline, three and six months.Eating behaviors were assessed using the Seven-Day Food Diary, while data on physical activity was collected using the Physical Activity Log. Data pertaining to metabolic control, waist circumference, systolic and diastolic blood pressure, blood glucose, triglycerides and HDL cholesterol was also collected.

The findings showed a significant positive effect on physical activity at 3-months and 6-months, and significant improvement in metabolic control including blood glucose and HDL cholesterol only at 6-months.  However, this Program could not significantly improve eating behaviors, waist circumference, systolic and diastolic blood pressures, or triglyceride levels. Nurses may implement this Program to achieve designated outcomes, especially for controlling blood glucose and HDL cholesterol as well as determining barriers to change behaviors in targeted patients.

บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การทำกิจกรรมทางกาย และการควบคุมภาวะเมตาบอลิกในผู้ที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมที่ใช้บริการใน3 โรงพยาบาลเขตภาคเหนือของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนดจำนวน 86 คน ทำการสุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 44 คน และกลุ่มควบคุม 42 คน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลด้วยโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองที่ออกแบบโดยผู้วิจัย สร้างขึ้นโดยอาศัยโมเดลการจัดการตนเองแบบ 5A ของกลาสโกว์และคณะในปี ค.ศ. 2002 ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามมาตราฐานการดำเนินการโปรแกรมใช้เวลา 3 เดือน มีการเข้ากลุ่มทั้งหมด 6 ครั้ง ซึ่ง 4 ครั้งแรกจะเข้ากลุ่มทุกสัปดาห์เป็นจำนวน 4 สัปดาห์ โดยสัปดาห์แรกจะเป็นการให้ความรู้ในเรื่องการรับประทานอาหารและการทำกิจกรรมทางกาย ครั้งที่ 2-4 เป็นการฝึกทักษะการจัดการตนเองส่วนครั้งที่ 5-6 เป็นการอภิปรายกลุ่ม โดยมีระยะเวลาห่างกัน 1 เดือน การเก็บรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การทำกิจกรรมทางกาย และการควบคุมเมตาบอลิกกระทำ 3 ครั้งคือ เริ่มต้น ที่ 3 และ 6 เดือน การประเมินพฤติกรรมการรับประทานอาหารใช้สมุดบันทึกการรับประทานอาหารภายใน 7 วัน เพื่อคำนวนหาสารอาหารที่ได้ในแต่ละวันด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาโดยสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ส่วนระดับการทำกิจกรรมทางกายประเมินจากสมุดบันทึกการทำกิจกรรมทางกายโดยคำนวนเป็นพลังงานที่ใช้ในแต่ละวัน ส่วนข้อมูลการควบคุมภาวะเมตาบอลิกประเมินจากขนาดรอบเอว ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด ระดับไตรกลีเซอไรด์ และระดับเอสดีแอลคอเลสเตอรอล

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีระดับการทำกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นทั้งที่ 3 และ6เดือน นอกจากนี้ที่ 6เดือนพบว่า กลุ่มทดลองมีระดับเอสดีแอลคอเลสเตอรอลเพิ่มสูงขึ้นและระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ดีในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ขนาดรอบเอว ระดับความดันโลหิต และระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด

ดังนั้น พยาบาลสามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรมเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมภาวะเมตาบอลิกโดยเฉพาะการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับเอสดีแอลคอเลสเตอรอลร่วมทั้งสามารถช่วยผู้ป่วยในการกำหนดปัญหาและอุปสรรคในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

 

Downloads

Published

2013-10-31

How to Cite

1.
Suwankruhasn N, Pothiban L, Panuthai S, Boonchuang P. Effects of a Self-management Support Program for Thai People Diagnosed with Metabolic Syndrome. PRIJNR [Internet]. 2013 Oct. 31 [cited 2024 Mar. 29];17(4):371-83. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/PRIJNR/article/view/8800