ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาของ องค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร
สมศักดิ์ พรมเดื่อ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนา  ปัจจัยที่มีผลต่อผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนา  และข้อเสนอแนะการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดมหาสารคาม โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็น นายกองค์การบริหารส่วนตำบล และปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 180  คน  แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า  การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดมหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก  ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดมหาสารคาม  อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05  คือ ปัจจัยด้านจูงใจ ปัจจัยด้านการยอมรับ ปัจจัยด้านการทำงานเป็นทีม และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม  ข้อเสนอแนะการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดมหาสารคาม ควรพัฒนาการจัดการการศึกษาให้มากขึ้น ควรกำหนดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นแนวทางแรกของยุทธศาตร์ ควรเร่งดำเนินการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ควรส่งเสริมการพัฒนาปัจจัยการผลิตภาคการเกษตร ควรมีการบูรณาการโครงการกิจกรรมระหว่างหน่วยงานท้องถิ่น เช่น พัฒนาคมนาคม ร่วมกัน พัฒนาอาชีพเป็นเครือข่าย


The Factors Influenced to Operation According to The Development Strategy of Sub-district Administrative Organization Mahasarakham Province


This research aimed to study the operation according to the development strategy, and to study the factors influenced to operation according to the development strategy of sub-district administrative organization  Mahasarakham province, including the useful suggestions. The sample was 180  people were analyzed by computer program. Determine statistically significant at the .05 level. The operation according to the development strategy sub-district administrative organization  Mahasarakham province as overall was at high level. The factors influenced to operation according to the development strategy of sub-district administrative organization  Mahasarakham province by statistical significant at .05 levels were the motivation, the acceptance, the teamwork, and the participation. Suggestions for Implementation of sub-district administrative organization  Mahasarakham province, Should develop more educational management. The development of the people's quality of life should be the first strategy of the strategy. Should accelerate the development of infrastructure. Should promote the development of agricultural inputs. It should be integrated with the project activities between local agencies, such as the development of communications and networking.

Article Details

Section
Articles (บทความ)
Author Biographies

เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร, รองศาสตราจารย์ อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

รองศาสตราจารย์ อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

สมศักดิ์ พรมเดื่อ, Lecturer of Faculty of Political Science and Public Administration, Rajabhat Maha Sara Kham University

Special Lecturer in Faculty of Political Science and Public Administration, Rajabhat Maha Sara Kham University