The Training Manual of Recycle Waste Management for Undergraduate Students Environmental Education Programs Mahasarakham University

Main Article Content

ประยูร วงศ์จันทรา
ควันเทียน วงศ์จันทรา
สมชาติ บุตราช
อาภาวรรณ สรประสิทธิ์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคู่มือการฝึกอบรมการจัดการขยะรีไซเคิลให้มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลและเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความรู้และทัศนคติต่อการจัดการขยะรีไซเคิล กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 30 คน ได้จากการสมัครใจเข้าร่วมการฝึกอบรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือแผ่นพับ แบบทดสอบความรู้ แบบวัดทัศนคติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test กำหนด ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพของคู่มือมีค่า เท่ากับ 80.00/86.86 และดัชนีประสิทธิผล (E.I.) มีค่าเท่ากับ 0.6989 ก่อนการฝึกอบรมนิสิตมีคะแนนความรู้เฉลี่ยอยู่ในระดับดี หลังการฝึกอบรม มีคะแนนความรู้เฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ก่อนและหลัง พบว่า หลังการฝึกอบรมนิสิตมีความรู้มากกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีทัศนคติก่อนการฝึกอบรมอยู่ในระดับเห็นด้วยหลังการฝึกอบรมอยู่ในระดับเห็นด้วย เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยทัศนคติก่อนและหลังการฝึกอบรมพบว่า นิสิตมีคะแนนเฉลี่ยทัศนคติสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

The purposes of this research were to develop a manual to train workers about waste management recycling efficiency and effectiveness and to study and compare knowledge and attitude toward training recycle waste management. The samples used in the research were 30 students in Environmental education Facultyof Environment and Resource studies Mahasarakham University’ they were selected by voluntary sampling. The
instruments used in this research were manuals brochures, knowledge test and attitude test. The statistics used to data analysis were frequency percentage mean, standard deviation, paired t-test (a = .05). The result
showed that the efficiency of the manual was effective at 80.00/86.86, and
effectiveness Index (E.I.) was equal to 0.6989. The knowledge score was
at good level and after the promotion students had a knowledge score at
very good level. When before and after was compared, it indicated that students had a knowledge score higher than before at a significant level at
the .05. Before training, students had an attitude score at the agree level
and after training it was at the same agree level. Overall, the training was
beneficial.

Article Details

Section
Articles (บทความ)