การเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ ในรายวิชาหลักการพื้นฐาน สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์

Main Article Content

อัญญปารย์ ศิลปนิลมาลย์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักการพื้นฐานสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ ก่อนและหลังเรียนของนักศึกษา และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษา รหัส 55 ชั้นปีที่ 2 หมู่ที่ 1 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาหลักการพื้นฐานสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ ในภาคเรียนที่ 1/2557 จำนวน 28 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายมีหน่วยสุ่มเป็นห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบวัดผลก่อนและหลังเรียนวิชา หลักการพื้นฐานสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค จิ๊กซอว์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติทดสอบค่าทีT-Test (Dependent Samples) ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ในรายวิชาหลักการพื้นฐานสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ ก่อนกับหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) ผลการสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ในรายวิชาหลักการพื้นฐานสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด       (  = 4.72, S.D. = 0.23)

 

The purposes of this research were: 1) to compare the pre-test and post-test scores of students in a cooperative learning program using the jigsaw technique 2) to survey the satisfaction of students in the cooperative learning program by the jigsaw technique. The sample subjects in the study were 28 second year computer programming students (code 56) at Kalasin Rajabhat University. They had registered  to study Principles of Software Development in the first semester of 2014. They were selected by purposive sampling. The research instruments were a pre-post test and a satisfaction questionnaire. The statistics for analyzing the data were arithmetic mean, standard deviation and t-test (Dependent Samples). Results of the research were as follows:1) The results indicated that the average post-test score of the students,in learning with cooperative learning by the jigsaw technique, was significantly higher than that of the pre-test score at the 0.01 level. 2) Regarding the level of satisfaction, the finding showed that the average level of satisfaction with the cooperative learning by jigsaw technique was very high (  = 4.72, S.D. = 0.23).

Article Details

Section
Articles (บทความ)