การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้และการดูแลนักเรียน ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)

Main Article Content

วุฒิศักดิ์ บุญแน่น

Abstract

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 และ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 30 คน จากการเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระต่อกันพัฒนาเริ่มจากการจัดประชุม Focus Group เพื่อสร้างรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ คือบทความวิชาการแบบสอบถามกระบวนการจัดการเรียนการสอนเน้นพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพบนพื้นฐานของ COMPETENCY BASE LEARNING ผลการศึกษาพบว่า ในภาคเรียนที่ 2/2558 อาจารย์ผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ใช้รูปแบบCOMPETENCY BASE LEARNING ในการจัดการเรียนการสอนและการดูแลนักเรียนทุกหัวข้ออยู่ในระดับมาก และในภาคเรียนที่ 1/2559 นำเสนอด้วยสถิติเชิงพรรณนาสถิติเชิงอนุมาน (t-test)และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาพบว่าอาจารย์ผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ ใช้รูปแบบ COMPETENCY BASE LEARNING ในการจัดการเรียนการสอนและการดูแลนักเรียน ในเรื่องของ O = Overlearning, T = Technology, N = Nurture และ Y = Yardstick อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ COMPETENCY BASE LEARNING ระหว่างภาคเรียนที่ 2/2558 และภาคเรียนที่ 1/2559 โดยสถิติ t-test พบว่า การใช้รูปแบบ COMPETENCY BASE LEARNING ของอาจารย์ผู้สอนในกลุ่มสาระฯ การเรียนรู้ ระหว่างภาคเรียนที่ 2/2558 และภาคเรียนที่ 1/2559 ไม่แตกต่างกัน โดยอยู่ในระดับมาก และมีแนวโน้มมากขึ้นใน ภาคเรียนที่ 1/2559

 

The Development of Learning Management Model and The Students Care of Mahasarakham University Demonstration School (Secondary)

       The purpose of this study was to create and develop the learning model of Mahasarakham University Demonstration School (Secondary). The samples were 30 teachers teaching in the 2 semester of the academic year 2558 and in the 1 semester of the academic year 2559. They were selected by a simple random sampling technique and the group is independent. The development began with the focus group meeting for creating the model. The research instruments used were article and questionnaire on the process of instruction focusing on the development of students’ potential based on competency base learning. The results revealed that in the 2 semester of the academic year 2558, the teachers implemented the competency base learning model in their instruction and student care in the high level in all aspects. In the 1 semester of the academic year 2559, the teachers implemented the competency base learning model in their instruction and student care in terms of O = Overlearning, T = Technology, N = Nurture, and Y = Yardstick in the highest level. The analysis and comparison of the mean scores of the learning management through the use of competency base learning between the 2 semester of the academic year 2558 and in the 1 semester of the academic year 2559 via t-test (independent samples test) revealed that there was no difference of use of competency base learning in the 2 semester of the academic year 2558 and in the 1 semester of the academic year 2559. The competency base learning was reportedly used in the high level with the increasing trend in the 1 semester of the academic year 2559.

Article Details

Section
Articles (บทความ)