การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 24

Main Article Content

บุณรดา ทรงบุญศาสตร์
สุทธิพงษ์ หกสุวรรณ

Abstract

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และวิธีการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ และ 3) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 24 จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 จำนวน 346 คน โดยเลือกแบบสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มตอบแบบสอบถามและกลุ่มสัมภาษณ์โฟกัสกรุ๊ป ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษาพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ด้านได้แก่ ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ ด้านการมีความยืดหยุ่นและปรับตัวและการทำงานเป็นทีม 2) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก และวิธีการเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ที่มีอันดับความต้องการมากที่สุดคือ การศึกษาด้วยตนเอง การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการฝึกอบรม 3) โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 จังหวัดกาฬสินธุ์ มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์

 

Development The Programs for Enhance ACreative Leadership of School Administrators

      The purposes of this study were : 1) to study the components and indicators of creative leadership of the school administrators, 2) to study the current condition, desired condition, and approaches for improving creative leadership of the school administrators, and 3) to develop the program to reinforce creative leadership of school administrators under the
Secondary Educational Service Area Office 24, Kalasin province under the Secondary Educational Service Area Office 24, Kalasin province. They were selected through the stratified sampling method. The research instruments used on data collection were questionnaire, interview form, and evaluation form on appropriateness and possibility. The data analysis was divided into
two groups namely the group of sample who completed the questionnaire and the focus group interview. Analysis description stant content analysis. The results revealed that : 1) the creative leadership condition consists of 5 components including vision, consideration of individuality, creative thinking, flexibility and adaptation, and teamwork, 2) the current condition of the creative leadership of the school administrators in general was in the high level while the desired condition of the creative leadership of the school administrators in general was in the high level, and the approaches to reinforce the creative leadership which wa highly needed were self-studying, workshop, and training, 3) the program to reinforce creative leadership of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office 24, Kalasin province had the appropriateness and possibility for the implementation to develop creative leadership.

Article Details

Section
Articles (บทความ)