การศึกษาความรู้ความเข้าใจด้านการตรวจสถานที่เกิดเหตุ ของพนักงานสอบสวนในเขตพื้นที่ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

พ.ต.ท.หญิง กนกพร แสนแก้ว

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจด้านการตรวจสถานที่เกิดเหตุของพนักงานสอบสวนในเขตพื้นที่ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานสอบสวนที่ทำการสอบสวนประจำสถานีตำรวจในเขตพื้นที่ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม ซึ่งมีทั้งหมด 107 นาย จากสถานีตำรวจ จำนวน 12 สถานี โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


            ผลการวิจัย พบว่า พนักงานสอบสวนในเขตพื้นที่ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐมโดยภาพรวมมีระดับความรู้ความเข้าใจด้านการตรวจสถานที่เกิดเหตุในระดับสูง การตรวจสถานที่เกิดเหตุเป็นไปตามหลักการของ FBI ที่ได้กำหนดเป็น 12 ขั้นตอน พบว่า ขั้นตอนที่พนักงานสอบสวนส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจด้านการตรวจสถานที่เกิดเหตุอย่างถูกต้อง คือ ขั้นตอนที่ 1) การเตรียมความพร้อม 3) การป้องกันรักษาสถานที่เกิดเหตุ 4) การสำรวจสถานที่เกิดเหตุเบื้องต้น 5) การประเมินวัตถุพยานที่พบในสถานที่เกิดเหตุ 6) การบรรยายสถานที่เกิดเหตุ 8) การจัดทำแผนที่หรือแผนผัง และการสเก๊ตซ์ภาพสถานที่เกิดเหตุ 10) การบันทึกและตรวจเก็บวัตถุพยาน 11) การสำรวจสถานที่เกิดเหตุครั้งสุดท้าย และ 12) การออกและส่งคืนสถานที่เกิดเหตุ ส่วนขั้นตอนที่พนักงานสอบสวนมีความรู้ความเข้าใจด้านการตรวจสถานที่เกิดเหตุยังไม่ถูกต้อง คือ ขั้นตอนที่ 2) การดำเนินการเมื่อถึงสถานที่เกิดเหตุ 7) การถ่ายภาพในสถานที่เกิดเหตุ และ 9) การตรวจค้นสถานที่เกิดเหตุอย่างละเอียด ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนางานด้านการตรวจสถานที่เกิดเหตุ ได้แก่ จัดการฝึกอบรมเกี่ยวกับการตรวจสถานที่เกิดเหตุเป็นประจำทุกปี จัดสรรงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสถานที่เกิดเหตุ และจัดสรรกำลังพลให้เพียงพอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร แสนแก้ว. (2552). การพัฒนางานด้านการตรวจสถานที่เกิดเหตุของสถานีตำรวจในเขตพื้นที่ตำรวจภูธร
ภาค 8. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กู้เกียรติ เจริญบุญ. (2548). คู่มือพนักงานสอบสวนตามกฎหมายใหม่. กรุงเทพมหานคร : 21 เซนจูรี่.
ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม ฝ่ายอำนวยการ 1. เอกสารรายงานสถานภาพกำลังพลเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นสัญญาบัตร
ที่ปฏิบัติงานสอบสวนประจำสถานีตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม เมื่อ 15 มกราคม 2561 .
นครปฐม.
ตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม ฝ่ายอำนวยการ 2. สถิติฐานความผิดคดีอาญา 4 กลุ่มของตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม
ประจำปีงบประมาณ 2559 – 2560. เมื่อ 17 มกราคม 2561. นครปฐม.
เทวฤทธิ์ อุทธา. (2555). การศึกษากระบวนการรักษาสถานที่เกิดเหตุและรักษาวัตถุพยานของเจ้าหน้าที่มูลนิธิ
ต่างๆ ในเขตจังหวัดชลบุรี. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร.
วศิมน ธันธนาพรชัย, ยุทธนา สุดเจริญ และณรงค์ กุลนิเทศ. (2559). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสถานที่เกิดเหตุ
ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในเขตพื้นที่กองบังคับการตำรวจนครบาล 6. ในการประชุมวิขาการเสนอผลงานวิจัย
ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8, 1(8) , หน้า 2194-2202.
ศิรพงศ์ ศรีสุขกาญจน์. (2553). ความรู้ ทัศนคติต่อพฤติกรรมด้านความปลอดภัยของพนักงานอู่ทหารเรือพระ
จุลจอมเกล้า กรมอู่ทหารเรือ กรณีศึกษา : ในสายงานฝ่ายผลิต. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
สมภพ เองสมบุญ. (2551). การตรวจสถานที่เกิดเหตุเบื้องต้น. นครปฐม : โรงเรียนนายร้อยตำรวจ.
สันติ์ สุขวัจน์. (ม.ป.ป.). พิสูจน์หลักฐาน 1. นครปฐม : โรงเรียนนายร้อยตำรวจ.
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.(2550). คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 665/2550 เรื่อง กำหนดอำนาจหน้าที่ของ
สถานีตำรวจและหน้าที่ของตำแหน่งในสถานีตำรวจ เมื่อ 17 ตุลาคม 2550. กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ. (ม.ป.ป.). คู่มือบริหารจัดการสถานที่เกิดเหตุ. ม.ป.ท.
เอนก ยมจินดา. (2555). กฎหมายใหม่ทางนิติเวชศาสตร์ นิติวิทยาศาสตร์ และการแพทย์เกี่ยวกับ กระบวนการ
ยุติธรรม. กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยรพีพัฒนศักดิ์ สำนักงานศาลยุติธรรม.
Lee, Henry C. (1994). Crime Scene Investigation. Taiwan : Central Police University Press.
Lee, Henry C., Timothy Palmbach, and Marilyn T. Miller. (2007). Henry Lee's crime scene handbook.
London: Elsevier Academic Press.
Schiro, George. (2002). [online] .Protecting the crime scene. Accessed from : https://www.crime-
scene-investigator.net/evidenc1.html. (Retrieved : February 12,2018)