การพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดของผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

สายสุนีย์ จับโจร
สุดาใจ โล่ห์วนิชชัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและวิเคราะห์สภาพการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดนครราชสีมา และพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการทำการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในอำเภอโชคชัยและอำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 40 ราย งานวิจัยนี้ใช้เกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสนทนากลุ่ม การฝึกอบรมเพิ่มทักษะด้านการทำการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเพิ่มความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทคให้แก่ผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ติดตามและประเมินผลของการทำการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ ผลการศึกษา พบว่า ผู้ประกอบการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ ใช้วัตถุดิบหลักจากท้องถิ่นและขายสินค้าในชุมชน สินค้ามีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ สะท้อนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ปัญหาสำคัญที่พบ คือ ด้านการผลิต ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ เงินทุน การประชาสัมพันธ์ [1]และการตลาด การพัฒนาศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยการทำการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ พบว่า ผู้ประกอบการมีรายได้จากการขายสินค้าและมีกลุ่มลูกค้าใหม่ทั้งในและต่างประเทศมากขึ้น ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการประสบความสำเร็จในการทำการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ คือ การลดปัญหาด้านการสื่อสาร การเพิ่มช่องทางการติดต่อและการประชาสัมพันธ์ การขยายตลาดตรงกับกลุ่มลูกค้า และต้นทุนการดำเนินงานลดลง ปัญหาที่พบ คือ ขาดการอัปเดตข้อมูล ขาดความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค การตอบคำถามและตรวจสอบข้อมูลตลอดเวลา และการแจ้งข้อมูลเท็จ บทเรียนและความรู้ที่ได้จากการวิจัย คือ การทำการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ สามารถยกระดับคุณภาพการแข่งขันเชิงพาณิชย์ ทั้งด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์สินค้า และเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้แก่สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2560). ความเป็นมาของโครงการหนึ่ง
ตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2560 จาก
https://www.thaitambon.com/OTOP/Info/.
ดนุชา สลีวงศ์ และ ณัตตยา เอี่ยมคง. (2560). “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
สารสนเทศในการบริหารจัดการสินค้าชุมชนเพื่อความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ.” Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10(3) (กันยายน-ธันวาคม 2560) : 2355-2371.
ธันยมัย เจียรกุล. (2557). “ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOP เพื่อพร้อมรับ
การเปิด AEC.” วารสารนักบริหาร. 34(1) (มกราคม – มิถุนายน 2557) : 177-191.
พรพรรณ ตาลประเสริฐ. (2559). อิทธิพลของการตลาดแบบดิจิทัลส่งผลต่อการ
ตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคกลุ่มธุรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ระบบศูนย์ข้อมูลกลางเพื่อการบริหารจัดเก็บและใช้ประโยชน์ กรมการพัฒนาชุมชน
กระทรวงมหาดไทย. (2561). สรุปผลการจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่ง
ผลิตภัณฑ์ ปีงบประมาณ 2561 แยกตามประเภทสินค้า จังหวัด
นครราชสีมา. สืบค้นจาก
https://logi.cdd.go.th/cddcenter/cdd_report/otop_r07.php
?&year=2561&month_id=12&prov_id=30&_id=0. สืบค้นเมื่อวันที่ 11
มกราคม 2562.
วรรณพร พุทธภูมิพิทักษ์. (2558). “ผลิตภัณฑ์ OTOP กับการก้าวเข้าสู่เส้นทาง AEC
OTOP TO AEC.” วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์. 1(2), พฤษภาคม-สิงหาคม 2558 : 100-112.
วริษฐ์ กิตติ์ธนารุจน์ และ ชลาวัล วรรณทอง. (2561). “การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์
บนเว็บเพื่อสนับสนุนการนำเสนอข้อมูลเชิงพื้นที่ของตำบลจันทบเพชร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย และบ้านจุ๊บโกกี อำเภอบันเดียอำปีล จังหวัดอุดรมีชัย ประเทศกัมพูชา.” วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 13(2) กรกฏาคม-ธันวาคม 2561 : 31-46.
ศรีสุดา ลีลาสุวัฒน์ และคณะ. (2558). แนวทางการพัฒนาการตลาด OTOP สู่
สากล อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา.
สุดาวัลย์ ขันสูงเนิน. (2559). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจประมูลสินค้าผ่าน
ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี.
สุดใจ ผ่องแผ้ว และนุจรี ภาคาสัตย์. (2559). “รูปแบบความสามารถทางการแข่งขัน
ของผู้ประกอบการ OTOP ที่เป็น SEMs ในประเทศไทย.” Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 9(3) (กันยายน – ธันวาคม 2559) : 1659-1675.
Suh, Y., & Kim, M. (2014). “Internationally leading SMEs vs.
internationalized SMEs : Evidence of success factors from South Korea.” International Business Review. 23 (1) (February 2014) : 115-129.