การจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง ดิน หิน แร่ และธรณีกาลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยบุรีรัมย์

Main Article Content

ณัฐพร ฐิติมโนวงศ์
เนตรชนก จันทร์สว่าง
ต้นสกุล ศานติบูรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังและก่อนจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมห้องเรียนกลับด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/6 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยบุรีรัมย์ จำนวน 24 คน ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณซึ่งสร้างขึ้นจากแนวคิดของเอนนิส ประกอบด้วย 5 ด้าน จำนวน 25 ข้อ ได้แก่ ความสามารถในการระบุปัญหา  ความสามารถในการพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูลและการสังเกต ความสามารถในการอุปนัย  ความสามารถในการนิรนัย  และความสามารถในการระบุข้อตกลงเบื้องต้น  สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 


           ผลการวิจัยพบว่า  การคิดอย่างมีวิจารณญาณ[1]โดยรวมหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.04  (S.D.=  2.25 ) ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ   11.67     (S.D.=  1.43) และเมื่อพิจารณาการคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยของการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้านความสามารถในการระบุปัญหาสูงที่สุด (ค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 75.0) และด้านความสามารถในการนิรนัย ต่ำที่สุด (ค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 54.0)  เมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติ t-test dependent โดยรวมและรายด้าน ผู้เรียนมีการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพันธุ์ วิบูลย์ศิลป์. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิด
ห้องเรียนกลับทางร่วมกับการเรียนรู้เชิงรุกที่มีผลต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5. สาขาวิชาการศึกษาคณิตศาสตร์ ภาคหลักสูตรและการสอน: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จงกลนี ชุติมาเทวินทร์. (2554). การฝึกอบรมเชิงพัฒนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศูนย์
หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จินตวีร์ คล้ายสังข์ และประกอบ กรณีกิจ. (๒๕๕๕). การพัฒนารูปแบบอีเลิร์นนิงแบบ
ผสมผสานโดยใช้บันทึกสะท้อนการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ที่ส่งเสริมความใฝ่รู้และความคงทนในการจำของนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กองทุนวิจัยคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี และ คณะ. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนา
คุณภาพวิชาการ.
ทิศนา แขมมณี. (2546). 14 วิธีการสอนสาหรับครูมืออาชีพ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2548). ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้
และ การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2558). การคิดและการสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิด: ความเข้าใจ
พื้นฐาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ลินดา บุญรอด. (2560). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน
ร่วมกับการเรียนรู้ผ่านเฟซบุ๊ค (facebook)โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป วิชาเคมี 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊ส เพื่อพัฒนาความรับผิดชอบและเจตคติทาง วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศรัทธาสมุทร จังหวัดสมุทรสงคราม.
วิจารณ์ พานิช. (2556 ก). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.
พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
วิจารณ์ พานิช. (2556 ข). ครูในศตวรรษที่ 21. เชียงใหม่: หน่วยทะเบียนและพัฒนาวิชาการ งานบริการ วิจารณ์ พานิช. (2556ค). การสร้างการเรียนรู้ สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: เอส.
อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
สุจิตรา ชาเคน. (2560). การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
รายวิชาสังคมศึกษาโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับเทคนิค ห้องเรียนกลับทาง.การนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17.
สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. (2553). การเปลี่ยนแปลงโลกของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการ
พัฒนาสู่ครูมืออาชีพ. ใน สุดาพร ลักษณียนาวิน (บรรณาธิการ) การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงสมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย.สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สิปปนนท์ เกตุทัต และคณะ (2542). การศึกษาในยุคโลกาภิวัฒน์ : สู่ความก้าวหน้าและความ
มั่นคงของชาติในทศวรรษหน้า. กรุงเทพมหานคร.
Erwin, T. D. & Sebrell, K. W. (2003). Assessment of critical thinking: ETS’s Tasks
in Critical Thinking. The Journal of General Education, 52, 50-70.