Production enhancement of organic rice by the Boon Niyom Ratchathani Asoke Community Warin Chamrab district, Ubon Ratchthani province.

Main Article Content

ธำรงค์ แสงสุริยจันทร์
อรนุช แสงสุริยจันทร์

Abstract

ในการส่งเสริมการผลิตข้าวไร้สารพิษ ชุมชนบุญนิยมราชธานีอโศกได้จัดกิจกรรมแบบครบวงจร เริ่มตั้งแต่การให้ความรู้แก่เกษตรกรจนถึงการส่งมอบข้าวไร้สารพิษให้ร้านค้านำไปจำหน่าย โดยแบ่งกิจกรรมเป็น 2 ส่วน คือ


ส่วนที่ 1 การจัดหาข้าวเปลือกไร้สารพิษ กิจกรรมประกอบด้วย (1) การจัดหาและการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้ปลูกข้าวไร้สารพิษ (2) การส่งเสริมการผลิตข้าวไร้สารพิษ (3) การปลูกข้าวไร้สารพิษ (4) การรวบรวมและเก็บรักษาข้าวเปลือกไร้สารพิษ


ส่วนที่ 2 การจัดจำหน่ายข้าวสารไร้สารพิษ กิจกรรมประกอบด้วย (1) การแปรรูปจากข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร (2) การบรรจุหีบห่อ (3) การจัดการระบบโลจิสติกส์ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การบริหารสินค้าคงคลัง การขนส่ง การตลาด จนถึงการส่งมอบสินค้า (4) การจำหน่ายข้าวสารไร้สารพิษของร้านค้าชุมชนบุญนิยม


การคำนวณต้นทุนการผลิตช้าวไร้สารพิษไม่ได้รวมค่าแรงงาน เพราะการดำเนินงานทุกกิจกรรม แรงงานเป็นอาสาสมัครและสมาชิกชุมชนฯที่ทำงานโดยไม่รับค่าตอบแทน ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามวิถีบุญนิยมและหลักธรรมสัมมาอาชีวะ 5 ได้แก่ (1) การไม่โกง (2) การไม่ล่อลวง (3) การไม่ตลบตะแลง (4) การไม่มอบตนในทางที่ผิด และ(5) การทำงานโดยไม่รับค่าตอบแทน (พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง, 2525. มหาจัตตารีสกสูตร ม.อุ. เล่มที่ 14 หน้า 149 ข้อ 275) ทำให้สามารถมีข้าวสารไร้สารพิษจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดทั่วไปได้ตลอดปี


การจัดกิจกรรมส่งเสริมการผลิตข้าวไร้สารพิษ คำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ผลิตและผู้บริโภคไปพร้อมกัน โดยผู้ผลิตได้รัยผลตอบแทนที่เป็นธรรมและมีสุขภาพดี ส่วนผู้บริโภคสามารถมีข้าวสารไร้สารพิษบริโภคในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดทั่วไปได้ตลอดปี

Article Details

How to Cite
แสงสุริยจันทร์ ธ., & แสงสุริยจันทร์ อ. (2018). Production enhancement of organic rice by the Boon Niyom Ratchathani Asoke Community Warin Chamrab district, Ubon Ratchthani province. Rajapark Journal, 12(25), 266–281. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/121605
Section
Research Article

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2550). เอกสารประกอบการประชุมคณะทำงานพัฒนาการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ครั้งที่ 1/2550. ณ ห้องประชุมสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม 2550.

เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย. (2547ก). สรุปบทเรียนการอบรมเกษตรกรโครงการพัฒนาศักยภาพ และคุณภาพชีวิตเกษตรกรตามนโยบายพักชำระหนี้เกษตรกรของรัฐบาล. เอกสารถ่ายสำเนาประกอบการประชุมสรุปบทเรียนการอบรมเกษตรกร ณ ชุมชนสันติอโศก วันที่ 6 พฤษภาคม 2547.

_____. (2547ข). รายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ โครงการ พลังกู้ดินฟ้า ประชาเป็นสุข (รหัสโครงการ 46-00826) ปีที่ 1 : 1 สิงหาคม 2546 - 31 สิงหาคม 2547. ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

_____. (2550). รายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ โครงการ พลังกู้ดินฟ้า ประชาเป็นสุข (รหัสโครงการ 48-01726) ปีที่ 2 : 1 มิถุนายน 2548 - 15 กุมภาพันธ์ 2550. ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

_____. (2555). มาตรฐานกสิกรรมไร้สารพิษ. เอกสารถ่ายสำเนาฉบับแก้ไขจากการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ วันที่ 22 กันยายน 2555.

จันทนา อินทปัญญา. (2550). แนวทางการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ในพื้นที่ตำบลสร้อยละคร อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์. ทุนสนับสนุนงานวิจัย คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ชุติระ ระบอบ. (2553). การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. สมุทรปราการ : โครงการสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

ธำรงค์ แสงสุริยจันทร์. (2553). วิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงบนพื้นฐานแนวทางบุญนิยมในชุมชนบุญนิยมราชธานีอโศก อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 1(1): 104-129.

_____. (2554). กรณีศึกษา กระบวนการเปลี่ยนพฤติกรรมของเกษตรกรหลังจากผ่านโครงการฝึกอบรมแนวทางบุญนิยมโดยชุมชนราชธานีอโศก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต พัฒนบูรณาการศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

นาวิน โสภาภูมิ. (2547). กสิกรรมไร้สารพิษ ใน อนุสรณ์ อุณโณ (บก.) เกษตรกรรมยั่งยืน : อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมกับปัญหาการเกษตรและอัตลักษณ์ชาวนาไทย. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการจัดงานมหกรรมเกษตรกรรมยั่งยืน.

นิพนธ์ พัวพงศกร และคณะ. (2553). รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของสินค้าเกษตร ภายใต้โครงการศึกษาวิจัยตลอดจนติดตามประเมินผลเพื่อเสนอแนวทาง นโยบายการปรับโครงสร้างการผลิต การค้าและการลงทุน. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

บุญฑวรรณ วิงวอน และคณะ. (2553). การจัดการห่วงโซ่อุปทานเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผักปลอดสารพิษ อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. งานวิจัยจากทุนสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ. (2548). พัฒนากสิกรรมธรรมชาติ สู่ระบบ เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : เอ็ม. แอล. ครีเอชั่น แอนด์ พริ้นติ้ง.

มูลนิธิธรรมสันติ. (2557). “โรงบุญมังสวิรัติ 5 ธันวาฯมหาราช ‘ 57 เทิดพระเกียรติในหลวง.” สารอโศก. อันดับ 336: 115-144; ตุลาคม-พฤศจิกายน 2557.

รวิสสาข์ สุชาโต และคณะ. (2556). ข้าวหอมมะลิบรรจุถุง การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานและโครงสร้างตลาด. สมพร อิศวิลานนท์และคณะ(บก.) เอกสารเผยแพร่ชุดโครงการ การเสริมสร้างความเข้มแข็งงานวิจัยเชิงนโยบายการเกษตร. กรุงเทพฯ : สถาบันคลังสมองของชาติ ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

รินธรรม อโศกตระกูล. (2549). ระบบบุญนิยมในชุมชนราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี : นวัตกรรมสังคมจากภูมิปัญญาพุทธ. งานวิจัยจากทุนสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.

วิชัย ไชยมี. (2552). การจัดการโซ่อุปทานและดำเนินงาน. นนทบุรี : ทีพีไอเอ็ม.

______. (2525). พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ มหาจัตตารีสกสูตร เล่มที่ 14. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.

สถาบันบุญนิยม. (2552). ธรรมนูญบุญนิยม พ.ศ. 2550. กรุงเทพมหานคร: ฟ้าอภัย.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2554). ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. https://www.oae.go.th/more_news.php?cid=444. เมษายน 2554.

สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. (2557). หลักการผลิตข้าวอินทรีย์. https://www.brrd.in.th/rkb/organic%20rice/index.php-file=content.php&id=4.htm. กุมภาพันธ์ 2557.

Sanders, Nada R. (2012). Supply Chain Management: A Global Perspective. USA: John Wiley & Sons.