การวิเคราะห์พหุระดับของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

วัชรา จรูญผล
เสรี ชัดแช้ม
จันทร์พร พรหมมาศ

Abstract

            การศึกษาพหุตัวแปรนี้ใช้วิธีการสร้างโมเดลสมการเชิงเส้นแบบลดหลั่นระดับเพื่อตรวจสอบ
ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรระดับนักเรียนกับตัวแปรระดับห้องเรียน และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี
เขต 1 ปีการศึกษา 2548 จำนวน 1,680 คน ตัวแปรอิสระระดับนักเรียนมี 7 ตัวแปร ได้แก่ ความรู้พื้นฐานเดิม
วิชาวิทยาศาสตร์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ เจตคติทางวิทยาศาสตร์ สภาพแวดล้อมทางบ้าน กลุ่ม
เพื่อน เวลาที่ใช้ในการเรียน และ สื่อนอกห้องเรียน ส่วนตัวแปรอิสระระดับห้องเรียนมี 2 ตัวแปร ได้แก่
บรรยากาศในชั้นเรียน และ คุณภาพการสอน ตัวแปรตามเป็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เก็บจาก
คะแนนผลการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติวิชาวิทยาศาสตร์
             ผลการวิจัยปรากฏว่า โมเดลสุดท้ายสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิทยาศาสตร์ได้ร้อยละ 80 ตัวแปรระดับห้องเรียนทั้งสองตัวมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์
และ ตัวแปรระดับนักเรียน 4 ตัว ได้แก่ ความรู้พื้นฐานเดิมวิชาวิทยาศาสตร์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทาง
วิทยาศาสตร์ เจตคติทางวิทยาศาสตร์ และ เวลาที่ใช้ในการเรียน มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิทยาศาสตร์ รวมทั้งมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างระดับ ได้แก่ บรรยากาศในชั้นเรียน กับ ความรู้
พื้นฐานเดิมวิชาวิทยาศาสตร์ และ คุณภาพการสอน กับ เจตคติทางวิทยาศาสตร์

A Multi–Level Analysis of Variables Influencing
the Science Achievement of Grade 9 Students

           This multivariate study used hierarchical linear modeling methods to examine the
relationships among students – level and class – level variables and the science achievement of Grade 9 students. A sample of 1,680 students from the Chon Buri Education Service Area Office. I was drawn in the 2005 academic year. Independent variables at the student level included seven measures: prior science achievement, science achievement motivation, scientific attitude, home environment, peer relationships, time on task, and mass media access. At the class level, independent variables were measures of instructional quality and classroom environment. Science achievement was measured using results from the National Test of Science.
            The final model accounted for 80% variance in science achievement scores. Both of the class–level variables were found to influence science achievement, as were four of the original seven student–level variables: prior science achievement, science achievement motivation, scientific attitude, and time on task. Interactions were found between classroom environment and prior science achievement, and between instructional quality and scientific attitude.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)