การสร้างมาตรวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบตามโมเดล OCEAN ของคอสตาและแมคเครสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

อดิศร วงค์เมฆ
ม.ร.ว.สมพร สุทัศนีย์
เสรี ชัดแช้ม

Abstract

            การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและตรวจสอบมาตรวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบตามโมเดล OCEAN
ของคอสตาและแมคเครสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) สร้างปกติวิสัยสำหรับมาตรวัดบุคลิกภาพห้า
องค์ประกอบตามโมเดล OCEAN ได้แก่ การเปิดกว้าง การมีสติรู้ผิดชอบ การแสดงตัว ความน่าชื่นชม และ อาการทาง
ประสาท กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัด
ชลบุรี ปีการศึกษา 2548 จำนวน 1,286 คน วิเคราะห์ค่าสถิติเบื้องต้นโดยใช้โปรแกรม SPSS ตรวจสอบค่าสถิติของ
ข้อคำถามและค่าความเที่ยงของมาตรวัดโดยใช้โปรแกรม Lertap 5 และ ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของมาตรวัด ด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง โดยใช้โปรแกรม LISREL 8.50
             ผลการวิจัยหลักปรากฏว่า
             1. ข้อคำถามของมาตรวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบมีความตรงเชิงเนื้อหา สหสัมพันธ์ระหว่างข้อคำถาม
กับมาตรวัดมีค่าตั้งแต่ .23 ถึง .61 และ ค่าความเที่ยงของมาตรวัดทั้งฉบับเท่ากับ .85
             2. ความตรงเชิงโครงสร้างของมาตรวัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดี มีค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 937.17; p = 1.00 ที่องศาอิสระเท่ากับ 1376 และดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .98 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้
แล้ว (AGFI) เท่ากับ .96 และ ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1.00
             3. ปกติวิสัยของมาตรวัดบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำแนกเป็น
3 ระดับ ได้แก่ ผู้ที่มีบุคลิกภาพระดับสูง มีตำแหน่งเปอร์เซนไทล์สูงกว่า 76.63 ขึ้นไป ผู้ที่มีบุคลิกภาพระดับปกติ มี
ตำแหน่งเปอร์เซนไทล์ตั้งแต่ 23.09 ถึง 76.63 และ ผู้ที่มีบุคลิกภาพระดับต่ำ มีตำแหน่งเปอร์เซนไทล์ต่ำกว่า 23.09
ลงมา

Construction of a Five-Factor Personality Scale for High School Students

Using Costa and Mccrae’s ‘OCEAN’ Model

            The objectives of this study were: 1) construct and validate a five – factor personality scale for high school students based on Costa and McCrae’s model; and 2) to derive norms for the scale. The five dimensions of Costa and McCrae's ‘OCEAN’ model, Openness, Conscientiousness, Extraversion, Agreeableness, and Neuroticism were used as the basis for the development of a five–factor personality scale. The study involved a sample of 1,286 high school students drawn from the Chon Buri Education Service Area Office during the academic
year 2005. Descriptive statistics were obtained with SPSS; scale quality was determined by Lertap 5; LISREL 8.50 was used for second–order confirmatory factor analysis.
            The major findings were:
            1. The items of the five–factor personality scale were found to have content validity. Item–to–scale correlations ranged from .23 to .61; scale reliability was .85.
            2. The construct validity of the instrument was confirmed by alignment with the criterion; chi-square goodness of fit test value 937.17; p = 1.00, df = 1376, GFI = .98,

AGFI = .96 and CFI = 1.00.
            3. The norms of the five–factor personality scale for high school students were divided into three levels, high, normal, and low, corresponding respectively to percentile ranks over 76.63, between 76.63 and 23.09, and below 23.09.


Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)