การวิเคราะห์พหุระดับของตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยหน่าย ในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ

Main Article Content

นงนุช ศิริศักดิ์
สุชาดา กรเพชรปาณี
วิจิตร์พร หล่อสุวรรณกุล

Abstract

             การวิจัยนี้ใช้การสร้างโมเดลเชิงเส้นระดับลดหลั่นเพื่อตรวจสอบอิทธิพลของตัวแปรที่มีต่ออัตรา
ความเหนื่อยหน่ายในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 652 คน
ในระดับบุคคล ตัวแปรอิสระประกอบด้วย ความเข้มเข็งอดทน ความเชื่ออำนาจการควบคุมภายนอก การเผชิญ
ภาวะเครียด และ การเห็นคุณค่าในตนเอง ส่วนในระดับโรงพยาบาล ตัวแปรอิสระประกอบด้วย ภาระงาน
ความขัดแย้งในบทบาท แรงสนับสนุนทางสังคม และ พฤติกรรมภาวะผู้นำของหัวหน้างาน ผลการวิจัย
ปรากฏว่า ตัวแปรในระดับบุคคลทุกตัวและตัวแปรในระดับโรงพยาบาล 1 ตัว คือ แรงสนับสนุนทางสังคม
มีอิทธิพลต่ออัตราความเหนื่อยหน่ายในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
ความเข้มแข็งอดทนกับตัวแปรแรงสนับสนุนทางสังคม และ โมเดลสุดท้ายสามารถอธิบายความแปรปรวนของ
อัตราความเหนื่อยหน่ายในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพได้ร้อยละ 21

Multi-Level Analysis of Variables Influencing Job Burnout among Professional Nurses

                Hierarchical linear modeling was used to investigate the affect of selected variables on the job burnout rate of professional nurses. A sample of 652 nurses participated in the research. At the individual level, independent variables included measures of hardiness, external locus of control, coping, and self-esteem, while at the hospital level independent variables involved measures of workload, role conflict, social support, and leadership behavior. All of the individual-level variables and one of the hospital-level variables, social support, were found to impact burnout rates. An interaction was found between the measures of hardiness and social support. The final model was found to account for 21% of the observed burnout rate variance.


Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)