การพัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ สําหรับการจัดสอบ O-NET ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่6

Main Article Content

นุภาพรรณ ปลื้มใจ
ปิยะทิพย์ ตินวร
โสฬส สุขานนท์สวัสดิ์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ O-NET จัดทําคลังข้อสอบ O-NET และพัฒนา โปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ สําหรับการจัดสอบ O-NET ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จํานวน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ผู้วิจัยพัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของ Web Application การดําเนินการวิจัยมี4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) วิเคราะห์คุณภาพของข้อสอบ O-NET ตามทฤษฎี การตอบสนองข้อสอบ (Item Response Theory: IRT) แบบ 3 พารามิเตอร์จํานวน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้  2) จัดทําคลังข้อสอบ O-NET จํานวน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ 3) พัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะ ด้วยคอมพิวเตอร์ และ 4) ประเมินความคิดเห็นของผู้ทดลองใช้โปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ โดยทําการทดสอบบนเว็บไซต์ (www.onetcat.net/onetM6) กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่กําลัง ศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จํานวน 61 คน

ผลการวิจัยปรากฏว่า

1. ข้อสอบ O-NET ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จํานวน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือก จํานวน 1,197 ข้อ มีค่าอํานาจจําแนกของข้อสอบเฉลี่ย เท่ากับ 1.3693 ค่าความยากของข้อสอบเฉลี่ย เท่ากับ 0.8624 และค่าการเดาของข้อสอบเฉลี่ย เท่ากับ 0.2024 แสดงให้เห็นว่า ข้อสอบที่อยู่ในคลังขอสอบ O-NET ค่อนข้างยาก

2. คลังข้อสอบ O-NET ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สามารถบรรจุข้อสอบแบบหลายตัวเลือก ชนิด 4 ตัวเลือก ได้ไม่จํากัดขึ้นอยู่กับขนาดของ Server

3. โปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ สําหรับการจัดสอบ O-NET ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่6 มีความถูกต้องและปลอดภัยในการใช้งาน เป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญ และนักเรียนที่ทดลองใช้ โปรแกรมประเมินว่า มีความสะดวกในการนําไปใช้งาน

 

Development of the Computerized Adaptive Testing Program for O-NET at the Grade Twelve Level

Nupapan Pluemjai1, Piyathip Tinnaworn1 and Soros Sukhanonsawat2

1College of Research Methodology and Cognitive Science, Burapha University, Thailand

2Information Technology Standard and Security Office, Metropolitan Electricity Authority, Thailand

This research aimed to analyze the item quality of O-NET examination, construct the O-NET Item bank, and develop a computerized adaptive testing program for O-NET at the grade twelve level, covering eight learning areas. The computerized adaptive testing program was developed as a web application. The research methods were divided into four steps: 1) Analyze the item quality of O-NET was assessed using 3-parameter logistic Item Response Theory for eight learning areas, 2) The Construct of the O-NET Item bank for eight learning areas, 3) Develop the computerized adaptive testing program, and 4) Evaluate the efficiency of computerized adaptive testing program by assessing users’ satisfaction and can be accessed via www.onetcat.net/onetM6. The sample were recruited from 61 grade twelve students who studying in a second semester academic year 2014.

The results were as follows:

1. Analyzing the O-NET items quality for grade twelve level in eight learning areas showed that the mean of discrimination parameter, difficulty parameter, and guessing parameter were equal to 1.3693, 0.8624, and 0.2024 respectively. The O-NET Item bank consisted of 1,197 items. These results indicated that the items in O-NET item bank were quite difficult.

2. The O-NET Item bank was able to accept four multiple choices with unlimited amount of the items depending on the size of the server.

3. The efficiency of the software was judged to be high and free of delivery problems. The feedback from experts and students indicated a positive attitude regarding both the test and the computerized process.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)