ลวดลายและคำสอนในประเกือมเงินของจังหวัดสุรินทร์ Design and Teaching Words in Phaguamngoen Silver Beads of Surin Province

Main Article Content

สุริยา คลังฤทธิ์

Abstract

การวิจัยเรื่องลวดลายและคำสอนในประเกือมเงินของจังหวัดสุรินทร์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลวดลายบนประเกือมเงินโบราณของจังหวัดสุรินทร์และศึกษาความเชื่อและคำสอนบนประเกือมเงินโบราณของจังหวัดสุรินทร์ พื้นที่ศึกษาคือชุมชนเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เทคนิคการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกต กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ปราชญ์หัตถกรรมเครื่องเงินและผู้รู้ด้านความเชื่อและคำสอน

              ผลการวิจัยด้านลวดลายบนประเกือมเงินโบราณของจังหวัดสุรินทร์ปรากฏว่า ลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวเขมรพื้นเมืองสุรินทร์มาจากวัฒนธรรมความเชื่อโบราณในสิ่งเร้นลับเหนือธรรมชาติได้ถ่ายทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมหรือสัญลักษณ์บนลวดลายประเกือมเงิน โดยลวดลายประเกือมเงินดั้งเดิมของจังหวัดสุรินทร์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) ลวดลายพืชในวัฒนธรรมท้องถิ่น ได้แก่ ลายกลีบบัว ลายเม็ดมะยม ลายดอกพิกุล 2) ลวดลายจากเครื่องใช้ในการทำมาหากินคือ ลายร่างแห และ 3) ลวดลายแทนภาษาศักดิ์สิทธิ์ คือ ลายจารล

              ผลการวิจัยด้านความเชื่อเกี่ยวกับประเกือมเงินโบราณจังหวัดสุรินทร์ปรากฏว่า 1) ลายกลีบบัวมาจากความเชื่อเครื่องหมายการบูชาหรือสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ 2) ลายเม็ดมะยมมาจากความเชื่อสัญลักษณ์นิยมหรือเมตตามหานิยม 3) ลายดอกพิกุลมาจากความเชื่อเครื่องหมายของการบูชาในพิธีกรรม 4) ลายร่างแห มาจากความเชื่อเรื่องสัญลักษณ์การป้องกันภูตผีปิศาจ และ 5) ลายจารลมาจากความเชื่อสัญลักษณ์จากการป้องกันโดยใช้คาถาอาคม ส่วนคำสอนในประเกือมเงินโบราณจังหวัดสุรินทร์ชี้ให้เห็นว่า 1) ลายกลีบบัวแทนนัยยะคำสอนเกี่ยวกับความเคารพ การมีสัมมาคารวะ และความอ่อนน้อมถ่อมตน 2) ลายเม็ดมะยมแทนนัยยะคำสอนเกี่ยวกับความละเอียดรอบคอบ การพิจารณาสิ่งต่าง ๆ การมองให้ครอบคลุมทุกมิติ 3) ลายดอกพิกุลแทนนัยยะคำสอนเกี่ยวกับความเสมอภาค ความเท่าเทียมกันและความยุติธรรม 4) ลายร่างแหแทนนัยยะคำสอนเกี่ยวกับการใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหา   การคิดให้รอบคอบ มองถึงสาเหตุของปัญหาและแก้ไขอย่างเหมาะสม 5) ลายจารลแทนนัยยะคำสอนเกี่ยวกับ   ความไม่แน่นอนของชีวิต ตั้งมั่นในคุณงามความดี คนดีจริงจึงได้รับการสรรเสริญ

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กรรณิการ์ จินากูล. (2551). การพัฒนาแบบจำลองการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชาติพันธุ์จาก

ผ้าทอมือไท-ลาว. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การ

พัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

เครือจิต ศรีบุญนาค และคณะ. (2550). การพัฒนาศิลปะการแสดงจากพิธีกรรมกินฮีต

ของกลุ่มชนเผ่าดั้งเดิมสายตระกูลมอญเขมรในเขตภูมิภาคลุ่มน้ำโขง. วิทยานิพนธ์

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏ

สุรินทร์.

งามพิศ สัตย์สงวน. (2542). การวิจัยทางมานุษยวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ:

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญยัง หมั่นดี. (2557, สิงหาคม 5). อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. สัมภาษณ์.

ศิริ ผาสุก. (2536). สุรินทร์มรดกโลกทางวัฒนธรรมในประเทศไทย.

กรุงเทพมหานคร: เอสแอนด์จีกราฟฟิค.

สุภางค์ จันทวานิช. (2550). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่

กรุงเทพ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเลี้ยง ฉิมมาลี. (2550). คำสอนมุขปาฐะที่สะท้อนจากลายผ้าทอมือของกลุ่มชาติ

พันธุ์ออสโตรเอเชียติกในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำแม่โขง. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

พันธวิทย์ ยืนยิ่ง. (2543). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นงานหัตถกรรมพื้นบ้านการทำเม็ด

ประเกือมเงินของชุมชนบ้านสดอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน

สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชาประถมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระแม่เจ้าของชาวไทย. (มปป). กรุงเทพฯ: นิตยสารผู้หญิง.

สุจริต เพียรชอบ. (2543). ภูมิปัญญาไทยในภาษา. กรุงเทพฯ: สถาบันภาษาไทย

กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.

สุชาติ แสงทอง. (2545). เส้นทางการเป็นนักวิจัยวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น.

นครสวรรค์: สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏนครสวรรค์

อารีย์ ทองแก้ว. (2537). พิธีกรรมเกี่ยวกับช้างของชาวส่วยเมืองสุรินทร์ อำเภอท่าตูม

จังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์: คณะวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศสตร์ สถาบันราชภัฏ

สุรินทร์.

อัจฉรา ภาณุรัตน์. (2548). รายงานการวิจัยวิธีการให้การศึกษาเพื่อสืบทอดมรดกมรดก

ทางวัฒนธรรมผ้าทอมือ อีสานใต้. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

Berger, P. L., & Luckmann, T. (1991). The social construction of

reality: A treatise in the sociology of knowledge (No. 10).

Penguin UK.

Geertz, C. (1963). Agricultural involution: the process of ecological

change in Indonesia (No. 11). University of California Press.

Le’vi-Strauss C. (1966). The savage mind. Chicago: University of

Chicago Press.

Steward, J., & White, L. A. (1949). In Leslie White’s the Science of

Culture. New York: Free Press.