การพยากรณ์ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทย

Main Article Content

วรางคณา เรียนสุทธิ์
เกศรินทร์ ทองฤทธิ์

Abstract

 

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ คือ การสร้างตัวแบบพยากรณ์ที่เหมาะสมที่สุดของราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทย ด้วยวิธีการวิเคราะห์อนุกรมเวลา 4 วิธี ได้แก่ วิธีบอกซ์-เจนกินส์ วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังของโฮลต์ วิธีการปรับเรียบด้วยเส้นโค้งเลขชี้กำลังที่มีแนวโน้มแบบแดม และวิธีการพยากรณ์รวม โดยใช้อนุกรมเวลาราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทยจากเว็บไซต์ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ตั้งแต่เดือนมกราคม 2540 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2558 จำนวน 227 เดือน ผู้วิจัยได้แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ชุด ข้อมูลชุดที่ 1 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2540 ถึงเดือนธันวาคม 2557 จำนวน 216 เดือน สำหรับการสร้างตัวแบบพยากรณ์ ข้อมูลชุดที่ 2 ตั้งแต่เดือนมกราคม  ถึงเดือนพฤศจิกายน 2558 จำนวน 11 เดือน สำหรับการเปรียบเทียบความแม่นของตัวแบบพยากรณ์ ด้วยเกณฑ์เปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย และเกณฑ์รากที่สองของความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยที่ต่ำที่สุด ผลการวิจัยพบว่า ตัวแบบพยากรณ์รวมมีความถูกต้องในการพยากรณ์มากที่สุด

 

Abstract

The purpose of this research was to construct the appropriate forecasting model for the prices of field corn in Thailand using four time series analysis methods, including Box-Jenkins method, Holt’s exponential smoothing method, damped trend exponential smoothing method and combined forecasting method. Time series data from the website of the Office of Agricultural Economics with total 227 months during January, 1997 to November, 2015 are used and divided into two series. The first 216 months from January, 1997 until December, 2014 used to build the forecasting models and the last 11 months from January until November, 2015 used to compare the forecasting methods accuracies via the criteria of the lowest mean absolute percentage error and root mean squared error. Research finding indicated that, combined forecasting model was the most accurate.

Article Details

How to Cite
[1]
เรียนสุทธิ์ ว. and ทองฤทธิ์ เ., “การพยากรณ์ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทย”, RMUTP RESEARCH JOURNAL, vol. 11, no. 1, pp. 1–14, Mar. 2017.
Section
บทความวิจัย (Research Articles)