พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

รัตติยา บัวสอน
เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้ PRECEDE model ของกรีนและคณะ เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิจากนักศึกษา ระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 400 ราย จากมหาวิทยาลัย 6 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 73.8 รองลงมาคืออยู่ใน ระดับตํ่าร้อยละ 14.8 และระดับสูง ร้อยละ 11.4 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศคกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ ความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดา ทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ การเข้าถึงแหล่งซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การได้รับอิทธิพลจากสื่อโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และแรงสนับสนุนจากกลุ่มเพื่อนในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนปัจจัยที่ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อายุ ชั้นปีที่ศึกษา เกรดเฉลี่ย ลักษณะการอยู่อาศัย รายได้ต่อเดือน ความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสัมพันธภาพของบุคคลภายในครอบครัว จากการวิจัยในครั้งนี้ รัฐควรกำหนดนโยบายที่ชัดเจน เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การซื้อขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงมาตรการเกี่ยวกับการโฆษณาประชาสัมพันธ์ จากสื่อต่างๆ ในการป้องกันและลดพฤติกรรมการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชน

คำสำคัญ: พฤติกรรมการบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคแอลกอฮอล์ อิทธิพลจากสื่อโฆษณา นักศึกษาระดับปริญญาตรี

 

Abstract

The purpose of this research was to examine factors related to the alcohol consumption behavior of bachelor degree students in the Bangkok area. The PRECEDE model of Green and colleagues was used as a conceptual framework to guide the study. Stratified random sampling was used to recruit a sample of 400 bachelor students from 6 universities in Bangkok. The data collection was carried out using questionnaires. The data analysis used descriptive statistics and chi-square. The analysis revealed that the majority of the sample (73.8%) had alcohol consumption behavior as a moderate level, followed by the low level (14.8%), and the high level (11.4%). Factors that were significantly related to the level of alcohol consumption behavior of bachelor degree students in the Bangkok area included gender, the relationship between the parents, attitudes toward the consumption of alcohol beverages, access of selling and buying resources of alcoholic beverage, influence of advertising and public relations media, and support from friends in drinking alcoholic beverage. However, factors that were not significantly related to the level of alcohol consumption behavior of the sample included age, year of study, grade point average, living arrangement, monthly income, knowledge about alcoholic beverages, and relationship of family members. The recommendations from this study are that the government should have a clear policy about sales and purchase of alcoholic beverages and rules regarding advertising and public relations via various media to prevent and reduce the alcohol consumption behavior in the youth.

Keywords: Consumption behavior, Alcoholic beverage, Consumption attitude, Influence from media, Bachelor students

Article Details

How to Cite
1.
บัวสอน ร, รัชดาพรรณาธิกุล เ. พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานคร. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 6 [cited 2024 Mar. 29];18(2):259-71. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/8981
Section
บทความวิจัย