ความแข็งแกร่งในชีวิตและพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นไทย

Main Article Content

พัชรินทร์ นินทจันทร์
ศรีสุดา วนาลีสิน
ลัดดา แสนสีหา
ขวัญพนมพร ธรรมไทย
พิศสมัย อรทัย

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ระหว่างเพศ บรรยากาศในครอบครัว สถานะทางการเงิน ความแข็งแกร่งในชีวิต และพฤติกรรม เสี่ยงของวัยรุ่นไทย กลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้คือ วัยรุ่นที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 จากโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 2,715 คน วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS for windows วิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้โดยใช้ โปรแกรมพรีลิส (PRELIS for windows) ตรวจสอบความตรงของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ และวิเคราะห์รูปแบบอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมระหว่างตัวแปรด้วยโปรแกรมลิสเรล (LISREL for windows) ผลการวิจัยพบว่า โมเดลสมมติฐานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เมื่อพิจารณาอิทธิพลระหว่างตัวแปรพบว่า เพศชายมีความแข็งแกร่งในชีวิตน้อยกว่าเพศหญิง และ มีพฤติกรรมเสี่ยงมากกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สถานะทางการเงินมีอิทธิพลตรง ทางบวกต่อความแข็งแกร่งในชีวิตและมีอิทธิพลตรงทางลบต่อพฤติกรรมเสี่ยง และยังมีอิทธิพล อ้อมต่อพฤติกรรมเสี่ยงผ่านความแข็งแกร่งในชีวิต บรรยากาศในครอบครัวมีอิทธิพลตรงทางบวกต่อความแข็งแกร่งในชีวิตแต่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมเสี่ยงผ่านความแข็งแกร่งในชีวิต ส่วนความแข็งแกร่งในชีวิตมีอิทธิพลตรงทางลบต่อพฤติกรรมเสี่ยง ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้ เห็นว่าวัยรุ่นที่มีความแข็งแกร่งในชีวิตสูงจะมีพฤติกรรมเสี่ยงน้อย วัยรุ่นชายมีความแข็งแกร่งในชีวิตน้อยกว่าวัยรุ่นหญิง และมีพฤติกรรมเสี่ยงมากกว่าวัยรุ่นหญิง วัยรุ่นที่ได้รับเงินเพียงพอและมีครอบครัวที่รักใคร่กลมเกลียวจะมีความแข็งแกร่งในชีวิตสูงส่งผลให้มีพฤติกรรมเสี่ยงน้อยลง ข้อค้นพบที่ได้จากงานวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความ แข็งแกร่งในชีวิตสำหรับวัยรุ่นเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อไป

คำสำคัญ: ความแข็งแกร่งในชีวิต พฤติกรรมเสี่ยง วัยรุ่นไทย

 

Abstract

This study aimed to test the casual model of gender, family atmosphere, financial status, resilience, and risk-taking behavior of Thai adolescents. The sample for this study consisted of 2,715 adolescents studying at secondary schools in four regions (the central, southern, north, and northeast) of Thailand during January to March, 2009. Descriptive statistics were conducted using the SPSS for windows program. The correlations among variables were investigated using the PRELIS for windows program and the model was tested using the LISREL program. Data analysis shows that the proposed model was fit with the empirical data. When considering the influence of the study variables, the results demonstrated that males reported being resilient less than females and engaging in risk-taking behavior more than females. The financial status had a positive direct effect on resilience and a negative direct effect on risk-taking behavior. The financial status also had indirect effects on risk-taking behaviors through resilience. The family atmosphere had a positive direct effect on resilience, but had an indirect effect on the risk-taking behavior through resilience. The resilience had a negative direct effect on the risk-taking behavior. The results from this study indicated that adolescents with high resilience were less likely to engage in risk-taking behavior. Male adolescents were less resilient and more engaged in risk-taking behavior than female adolescents. Adolescents who had adequate financial status and harmony in the family were highly resilient and less likely to engage in risk-taking behavior. The information from this study could be applied to develop the programs to promote resilience for adolescents to prevent risk-taking behavior.

Keywords: Resilience, Risk-taking behavior, Thai adolescents

Article Details

How to Cite
1.
นินทจันทร์ พ, วนาลีสิน ศ, แสนสีหา ล, ธรรมไทย ข, อรทัย พ. ความแข็งแกร่งในชีวิตและพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นไทย. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 7 [cited 2024 Apr. 25];17(3):430-43. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/9048
Section
บทความวิชาการ