การประยุกต์ใช้ระบบควบคุมสำหรับรถนั่งคนพิการชนิดมือบังคับการเคลื่อนที่

Main Article Content

คมสัน มุ่ยสี
กฤษณะ จันทสิทธิ์
ศรายุทธ์ จิตรพัฒนากุล

บทคัดย่อ

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเน้นการวิจัยและนวัตกรรม และคนไทยสามารถใช้ประโยชน์จากผลผลิตของงานวิจัยได้ นอกจากนั้นประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในอีก 5 ปี ข้างหน้า คนพิการและผู้สูงอายุมีแนวโน้มจะใช้รถนั่งคนพิการชนิดมือบังคับการเคลื่อนที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตามคนพิการและผู้สูงอายุบางคนที่มีปัญหาเรื่องพละกำลัง จะไม่สามารถบังคับให้รถนั่งคนพิการเคลื่อนที่ได้ตามต้องการ จากเหตุผลดังกล่าวจึงเป็นแนวคิดของงานวิจัยที่จะช่วยให้คนพิการและผู้สูงอายุมีความสะดวกสบายในการใช้รถเข็นมากขึ้น


งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้ระบบควบคุมกึ่งอัตโนมัติกับรถนั่งคนพิการชนิดมือบังคับการเคลื่อนที่ให้เป็นรถนั่งไฟฟ้า ผู้ใช้งานสามารถควบคุมการเคลื่อนที่ผ่านก้านควบคุมชนิดเปลี่ยนแปลงความต้านทานไฟฟ้า โดยออกแบบสมาชิกอยู่ในรูปฟัซซี่  นำไปประมวลผลโดยไมโครคอนโทรลเลอร์ สมาชิกเอาท์พุทใช้วิธีค่าจุดศูนย์กลางความถ่วงในการควบคุมทิศทางและความเร็วรอบของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงชนิดเกียร์ทดรอบ รถนั่งไฟฟ้าจะไม่สามารถเคลื่อนที่ได้หากไม่มีการบังคับด้วยก้านควบคุมจึงทำให้มีความปลอดภัยในพื้นที่ลาดชัน รถนั่งไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้นสามารถเคลื่อนที่ได้ในทุกทิศทางที่ความเร็วสูงสุด 20 เมตรต่อนาที ใช้งานได้ 29 กิโลเมตร และสามารถหมุนรอบตัวเองได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ยุทธนา ปิติธีรภาพ. (2555). ชุดขับเคลือนไฟฟ้าติดประกอบสําหรับรถเข็นคนพิการ. การประชุมวิชาการวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย ครั้งที่ 4.

2. เตชทัต บูรณะอัศวกุล. (2555). สมองใสไฮเทค. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

3. ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556) การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

4. ประจิน พลังสันตกุล. (2549). เรียนรู้และใช้งาน CCS C คอมไพเลอร์. หนังสือชุดปฏิบัติการไมโครคอนโทรลเลอร์บริษัทอินโนเวตีฟ เอ็กเพอริเมนต์ จำกัด.

5. ณัฐพล วงศ์สันทรชัย, ชัยวัฒน์ ลิ้มพรจิตรวิไล. (2547). เรียนรู้และปฏิบัติการไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC16F877A. บริษัท อินโนเวตีฟ เอ็กเพอริเมนต์ จำกัด.

6. เวคิน ปิยรัตน์. (2542). เครื่องจักรกลไฟฟ้า 1. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์.

7. ชัยวัฒน์ ลิ้มพรจิตวิไล. (2538). คู่มือนักอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ : บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

8. พรจิต ประทุมสุวรรณ. (2541). เครื่องมือวัดอุตสาหกรรม : เซนเซอร์และทรานดิวเซอร์. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

9. เดช สินธุภัค. (2545). สมาคมผู้พิการแห่งประเทศไทย”, www.apht-th.org.

10. สุชาติ จันทร์จรมานิตย์. (2555) ระบบควบคุม. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา.