การพัฒนาแบบจำลองการบริหารการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

สุนิสา คงสุวรรณ
พรเทพ รู้แผน
อรรณพ จีนะวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองการบริหารการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีดำเนินการวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก เป็นการศึกษาเชิงปริมาณกับกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก จำนวน 390 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการศึกษาเชิงคุณภาพกับกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กที่มีวิธีปฏิบัติ  ที่เป็นเลิศ จำนวน 4 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา 2) สร้างแบบจำลองการบริหารการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก โดยวิธีการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ  11 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา และ 3) ประเมินความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้ของแบบจำลอง     กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก จำนวน 390 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบจำลองการบริหารการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย   หลักการและแนวคิดของแบบจำลอง  วัตถุประสงค์ของแบบจำลอง  และกระบวนการดำเนินการของแบบจำลองซึ่งมีองค์ประกอบ คือ (1) การวางแผน ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ  และนวัตกรรมการจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก  (2) การดำเนินการกระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลง  ได้แก่ การสร้างสำนึกเร่งด่วนที่จะต้องเปลี่ยนแปลง การสร้างทีมงานผู้นำ การสร้างวิสัยทัศน์ การวางแผน  การสร้างพลังในการทำงาน การประเมินผล และการหยั่งรากการเปลี่ยนแปลง (3) การประเมินผล ได้แก่ ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล และ (4) การปรับปรุง  ประเด็นที่ 2 แบบจำลองที่สร้างขึ้นมีผลการประเมินความเป็นประโยชน์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  และความเป็นไปได้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. เกียรติสยาม ลิ้มตะกูล. (2554). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

2. จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์. (2557). การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐบาลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

3. เชิดศักดิ์ ศุภโสภณ. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา,
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

4. ไตรรัตน์ โภคพลากรณ์. (2554). เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารการเปลี่ยนแปลง สาขาวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (พิมพ์ครั้งที่ 7). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

5. ธานี อำภาวงษ์. (2555). การพัฒนารูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสำหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดสุพรรณบุรี.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

6. เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). การจัดการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ : ทริปเพื้ล กรุ๊ป.

7. บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

8. พรหมสวัสดิ์ ทิพย์คงคา. (2551). รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงอาชีวศึกษาในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

10. ภาระวี ศุขโรจน์. (2556). รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงสถานศึกษาเอกชนสู่ความเป็นเลิศ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

11. มโน ซุนดี. (2556). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมศักยภาพความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
ในพระบรมราชูปถัมภ์.

12. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2559). หน่วยที่ 11 การบริหารการเปลี่ยนแปลง ชุดวิชา 58708.pdf. ค้นเมื่อ 14 มกราคม 2559, จาก http://www.stou.ac.th/SchoolsShs/upload/
หน่วยที่%2011%20ชุดวิชา%2058708.pdf

13. มาลิวัลย์ อนรรฆวี. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับบทบาทของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

14. ยุดา รักไทย. (2542). การบริหารการเปลี่ยนแปลงจากแนวคิด...สู่วิธีปฏิบัติ (The Art and Practice of Change Management). กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

15. วรกานต์ อินทรโสภา. (2555). การพัฒนาสมรรถนะความเป็นผู้นำทางการเรียนการสอนของผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

16. สภาการศึกษา. (ม.ป.ป.). คู่มือการมอบอำนาจและการส่งเสริมการกระจายความรับผิดชอบเพื่อการบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็ก. กรุงเทพฯ : สภาการศึกษา.

17. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). การบริหารการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

18.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน . (2558). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก พ.ศ.2558-2561. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

19. สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล.(2559).หลักสูตร การพัฒนาผู้บริหารสาธารณสุข 3 รุ่นที่1 และ 2 Summary Note เรื่อง Change Management. ค้นเมื่อ 14 มกราคม 2559, จาก
http://hpe4.anamai.moph.go.th/hpe/data/ australia/CM.pdf

20. อัจฉรา คหินทพงศ์. (2555). การนำเสนอรูปแบบการบริหารสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

21. Bernard, B. (2004). Managing Change (4th ed.) London : Ashford Colour.

22. Cowan, S. (2001). Principals’ Actions to Influence Change For School Success. Dissertation Presented to the Faculty of the, Graduate School of The University of
exas at Austin.

23. Eaber, D. A. (2013). Catholic Education: A Journal of Inquiry and Practice. Retrieved August 23,2015, from http://digitalcommons.lmu.edu/ce/

24. Fullan, M. and Stiegelbuer, B. (1991). The new meaning of education change. New York : Teachers College Press.

25. Hosgorur, V. (2014). School development applications in Turkey. Education. 134 (3). 404. Retrieved May 13, 2015, from http://www.projectinnovation.biz/education_
2006.html

26. Kotter,J,P. (2015). 8 steps for successful change management. Retrieved May 13, 2015, from http://www.raconteur.net.

27. Martin, I. and Carey, J. (2014). The Professional Counselor. Tpcjournal. 4(5), 455 Retrieved August 23, 2015, from http://tpcjournal.nbcc.org/

28. Smy, K. (2014). Managing change creativity & innovation. Indonesia : Patrick Dawson and Constantine Andriopoulos.