ผลของชนิดวัสดุปลูกที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของเมล่อน (Cucumis melo L.)

Main Article Content

นภาพร จิตต์ศรัทธา
วัชรวิทย์ รัศมี

บทคัดย่อ

          ศึกษาชนิดของวัสดุปลูกที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของเมล่อนสายพันธุ์ Green net T778 และ    เมล่อนพันธุ์ Pot orange T1957 ในระบบการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน โดยวางแผนการทดลองแบบ 2 x 3 Factorial in Completely Randomized Design จำนวน 5 ซ้ำ มี 2 ปัจจัย คือ สายพันธุ์เมล่อน 2 พันธุ์ คือ เมล่อนพันธุ์ Green net T778 และเมล่อนพันธุ์ Pot orange T1957 และวัสดุปลูก 3 ชนิด 1.พีทมอส 2.ขุยมะพร้าว 3.ขี้เถ้าแกลบ จากการศึกษาพบว่าการเจริญเติบโตและผลผลิตของเมล่อน 2 สายพันธุ์ มีความสูงต้น ความกว้างใบ ความยาวใบ ความเขียวใบ (SPAD) เส้นรอบวงผล ความหนาเนื้อ และความหนาแน่นของผล ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) แต่จะมีขนาดลำต้น น้ำหนักสดต้น น้ำหนักแห้งต้น น้ำหนักผล และปริมาณของแข็งที่ละลายได้ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยเมล่อนพันธุ์ Green net T778 จะมีการเจริญเติบโตสูงกว่าพันธุ์ Pot orange T1957 เมื่อพิจารณาผลของวัสดุปลูกที่มีต่อการเจริญเติบโตของเมล่อน พบว่าการใช้วัสดุปลูกที่แตกต่างกันส่งผลให้การเจริญเติบโตและผลผลิตของ เมล่อนในด้านความสูงต้น ความกว้างใบ ความยาวใบ ความเขียวใบ (SPAD) น้ำหนักสดต้น น้ำหนักแห้งต้น น้ำหนักผล เส้นรอบวงผล ความหนาแน่นของผล และปริมาณของแข็งที่ละลายได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยการปลูกเมล่อนในพีทมอสและขุยมะพร้าว จะมีน้ำหนักผลและปริมาณของแข็งที่ละลายได้ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) จากการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตพบว่าการปลูกเมล่อนพันธุ์ Green net T778 จะได้กำไร 17,352 บาท/โรงเรือน/รอบการปลูก ซึ่งการปลูกเมล่อนในเชิงการค้าด้วยขุยมะพร้าวสามารถใช้ทดแทนวัสดุปลูกที่นำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาสูง ได้แก่ พีทมอส เนื่องจากราคาถูก และส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของพืช

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. จานุลักษณ์ ขนบดี. (2541). การผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. กรุงเทพฯ.

2. จุมพล สาระนาด, อรพรรณ วิเศษสังค์ และจักรพงษ์ เจิมศิริ. (2539). คู่มือนักวิชาการภาคสนามโรคผัก. กรมวิชาการ เกษตร. อักษรสยามการพิมพ์, กรุงเทพฯ.

3. ถวัลย์ พัฒนเสถียรพงศ์. (2534). ปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน. สามัคคีสาร์น. นนทบุรี.

4. มนูญ ศิรินุพงศ์. (2544). การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินสู่การปฏิบัติในประเทศไทย. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. เจริญรัฐการพิมพ์, ปัตตานี.

5. วันเพ็ญ สุขการณ์. (2552). สูตรสารละลายและวัสดุปลูกที่เหมาะสมสำหรับการปลูกแคนตาลูปโดยไม่ใช้ดินในภาคใต้ ของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขา

6. อิทธิสุนทร นันทกิจ. (2553). การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินเชิงธุรกิจในประเทศไทย. สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ และสำนักการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมธิราช, กรุงเทพฯ.

7. เฮจ์ ชาร์ลอตต์. (2550). 100 สุดยอดอาหารกระตุ้นพลังภูมิคุ้มกัน. เกียวโด เนชั่น พริ้นติ้ง เซอร์วิส จำกัด. สมุทรปราการ.

8. Swiader, J.M. & Ware, G.W. (1992). Production vegetable crops. Interstate publishers, Inc, America. 611 p.

9. Villanueva, M.J., Tenorio, M.D., Esteban, M.A. & Mendoza, M.C. (2004). “Compositional changes during ripening of two cultivars of muskmelon fruits”. Food Chem. 87:179-185.