การสกัดและการประยุกต์ใช้เพคตินจากเปลือกทุเรียน

Main Article Content

หยาดรุ้ง สุวรรณรัตน์
จิรพร สวัสดิการ
รุ่งทิวา สุวรรณรัตน์

บทคัดย่อ

          การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดเพคตินจากเปลือกทุเรียนและประยุกต์ใช้ในการทำแยมและเยลลี่ ทำได้โดยนำเปลือกทุเรียนส่วนสีขาวมาบด ทำแห้งและสกัดโดยใช้กรดไฮโดรคลอริกความเข้มข้น 0.05 โมลาร์ น้ำกลั่นและความดันไอสูง จากผลการทดลอง พบว่าวิธีการสกัดที่เหมาะสมในการสกัดเพคตินจากเปลือกทุเรียน คือ การสกัดด้วย  กรดไฮโดรคลอริก เนื่องจากค่าระดับการเกิดเอสเทอริฟิเคชั่น ปริมาณเมทอกซิล และปริมาณกรดกาแลคทูโรนิค มีค่าใกล้เคียงกับเพคตินทางการค้า การทดลองต่อไปทำโดยสกัดเพคตินจากเปลือกทุเรียนด้วยกรดไฮโดรคลอริกที่อุณหภูมิและเวลาต่าง ๆ ซึ่งผลการทดลอง พบว่าอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมในการสกัดเพคตินจากเปลือกทุเรียน คือ อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 ชั่วโมง เพคตินที่สกัดได้จัดเป็นเพคตินชนิดเมทอกซิลสูง มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับเพคตินเกรดโรงงานเมื่อเปรียบเทียบกับเพคตินทางการค้าตามข้อกำหนดของคณะกรรมการด้านวัตถุเจือปนอาหาร เมื่อนำ เพคตินที่สกัดไปประยุกต์ใช้ในแยมสับปะรดและเยลลี่ส้ม และทดสอบทางประสาทสัมผัสโดยใช้ผู้ทดสอบชิมที่ได้รับการฝึกฝน พบว่าผู้ทดสอบชิมให้การยอมรับแยมสับปะรดและเยลลี่ส้มที่มีการเติมเพคตินที่สกัดได้จากเปลือกทุเรียนในระดับชอบเล็กน้อย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ขนิษฐา เลิกชัยภูมิ. (2545). การสกัดเพคตินจากส้มมะงั่วและการใช้ประโยชน์ในระบบอาหาร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

2. ชวนิฏฐ์ สิทธิดิลกรัตน์ และคณะ. (2548). การผลิตเพคตินจากเปลือกและกากส้มเหลือทิ้ง. ในรายงานการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 43. 469-480.

3. ชินานาฏ วิทยาประภากร และสมัชญ์ ทวีเกษมสมบัติ. (2556). การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดเพคตินจากวัสดุทางการเกษตร. วารสารวิชาการและวิจัย. 24-31.

4. ธนาวรรณ สุขเกษม. (2556). ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดเพคตินจากกะหล่ำปลี (Brassica oleracea L.var.capitata) ภูทับเบิก ตำบลวังบาล อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 10(2): 262-268.

5. ธานุวัฒน์ ลาภตันศุภผล และคณะ. (2556). การสกัดเพคตินจากเปลือกผักและผลไม้. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 44(2) (พิเศษ): 433-436.

6. รัชฎา ตั้งวงษ์ไชย และคณะ. (2544). การสกัดเพคตินจากส้มมะงั่วและแนวทางการใช้ประโยชน์ในระบบอาหารเชิงพาณิชย์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

7. สุนันท์ วิทิตสิริ. (2557). การเปรียบเทียบปริมาณเพกทินจากซังขนุนหนังจำปากรอบโดยการสกัดด้วยน้ำร้อนและความดันไอสูง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 9(2): 95-112.

8. องอาจ เด็ดดวง. (2553). การเปรียบเทียบเพคตินสกัดจากฝรั่งสามชนิดกับเพคตินมาตรฐาน. สารนิพนธ์ กศ.ม. (เคมี). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

9. (เคมี). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.AOAC. (2000). Official Method of Analysis. 17th edition Association of Official Analytical Chemistry.

10. Colodel, C. et al. (2018). Extraction of Pectin from Ponkan (Citrus reticulate Blanco cv. Ponkan) Peel: Optimization and Structural Characterization. International Journal of Biological Macromolecules. 117: 385-391.

11. Espitia, P.J.P. et al. (2014). Edible Films from Pectin: Physical-Mechanical and Antimicrobial Properties-A Review. Food Hydrocolloids. 35: 287-296.

12. Grassino, A.N. et al. (2016). Utilization of Tomato Peel Waste from Cannin Factory as a Potential Source for Pectin Production and Application as Tin Corrosion Inhibition. Food Hydrocolloids. 52: 265-274.

13. Guo, X. et al. (2014). Emulsion Stabilizing Properties of Pectins Extracted by High Hydrostatic Pressure, High-Speed Shearing Homogenization and Traditional Thermal Methods: A Comparative Study. Food Hydrocolloids. 35: 217-225.

14. Jafari, F. et al. (2016). Pectin from Carrot Pomace: Optimization of Extraction and Physicochemical Properties. Cabohydrate Polymers. 157: 1315-1322.

15. John Swamy, G. & Muthukumarappan, K. (2016). Optimization of Continuous and Intermittent Microwave Extraction of Pectin from Banana Peel. Food Chemistry. 220: 108-114.

16. Kulkarni, S.G. & Vijayanand, P. (2010). Effect of Extraction Conditions on the Quality Characteristics of Pectin from Passion Fruit Peel (Passiflora edulis f. flavicarpa L.). LWT – Food Science and Technology. 43(7): 1026-1031.

17. Maran, J.P. (2015). Statistical Optimization of Aqueous Extraction of Pectin from Waste Durian Rinds. International Journal of Biological Macromolecules. 73: 92-98.

18. Muhammad, K. et al. (2014). High Methoxyl Pectin from Dragon Fruit (Hylocereus polyrhizus) Peel. Food Hydrocolloids. 42: 289-297.

19. Pasandide, B. et al. (2017). Optimization of Aqueous Pectin Extraction from Citrus medica peel. Carbohydrate Polymers. 178: 27-33.

20. Tang, P.Y. et al. (2011). Optimization of Pectin Extraction from Peel of Dragon Fruit (Hylocereus polyrhizus). Asian Journal of Biological Sciences. 4(2): 189-195.

21. Thakur, B.R. et al. (1997). Chemistry and Uses of Pectin-A Review Critical Reviews in Food Science and Nutrition. 37: 47-73.

22. Tiwari, et al. (2017). Extraction and Characterization of Pectin from Orange Peels. International Journal of Biotechnology and Biochemistry. 13(1): 39-47.

23. Voragen, A.G.J. et al. (1995). Pectins, In Food Polysaccharides and Their Application. A.M. Stephen (ed.). Marcel Deker, Inc., New york.

24. Wai, W.W. et al. (2010). Effect of Extraction Condition on Yield and Degree of Esterification of Durian Rind Pectin: An Experiment Design. Food and Bioproducts Processing. 88: 209-214.

25. Yapo B.M. (2009). Pectin Quantity Composition and Physicochemical Behavior as Influenced by the Purification Process. Food Research International. 42: 1197-1202.