สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา

Main Article Content

ชารี จันสุพรม
ณรงค์ จอมโคกกรวด
พรทิพย์ ฉัตรชูเกียรติกุล

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดกิจกรรมทางกายและเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายที่ดีให้กับนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 105 คน เป็นนักศึกษาชาย 53 คน และนักศึกษาหญิง 52 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2560 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชากีฬาและนันทนาการเพื่อสุขภาพ รวบรวมข้อมูลด้วยการทดสอบสมรรถภาพทางกายสัมพันธ์กับสุขภาพ ประกอบด้วย น้ำหนัก ส่วนสูง ชีพจรขณะพัก การวัดแรงบีบมือ ดันพื้น นั่งก้มตัวไปข้างหน้า และดัชนีมวลกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากผลการวิจัยด้านสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักศึกษา พบว่า นักศึกษาชาย มีชีพจรขณะพักอยู่ในเกณฑ์ต่ำ คิดเป็นร้อยละ 15.25 แรงบีบมืออยู่ในเกณฑ์ต่ำ คิดเป็นร้อยละ 7.19 ดันพื้นอยู่ในเกณฑ์พอใช้ คิดเป็นร้อยละ 13.59 นั่งก้มตัวไปข้างหน้าอยู่ในเกณฑ์พอใช้ คิดเป็นร้อยละ 7.93 และดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์พอใช้ คิดเป็นร้อยละ 4.43 ในนักศึกษาหญิง พบว่า มีชีพจรขณะพักอยู่ในเกณฑ์ต่ำ คิดเป็นร้อยละ 14.50 แรงบีบมืออยู่ในเกณฑ์ต่ำ คิดเป็นร้อยละ 7.56 ดันพื้นอยู่ในเกณฑ์พอใช้ คิดเป็นร้อยละ 11.76 นั่งก้มตัวไปข้างหน้าอยู่ในเกณฑ์พอใช้ คิดเป็นร้อยละ 7.93 และดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์พอใช้ คิดเป็นร้อยละ 3.45 จากผลการวิจัยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่านักศึกษาควรมีการทำกิจกรรมทางกายหรือออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้มีสุขภาพที่ดี และเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของการมีสุขภาพที่ดี และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กองการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2551). ยุทธศาสตร์โลกด้านอาหารกิจกรรมทางกายและสุขภาพ. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

2. จรรยา สมิงวรรณ. (2550). ผลของการฝึกโยคะในน้ำและการฝึกโยคะบนบกที่มีต่อสมรรถภาพทางกายและจิตในสตรี อายุ 50-59 ปี. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

3. เจริญ กระบวนรัตน์. (2548). การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

4. เจริญ กระบวนรัตน์. (2556). ประโยชน์และคุณค่าของการออกกำลังกายที่มีต่อร่างกาย. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ. 39: 13-21.

5. แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายมาตรฐานระหว่างประเทศ. (ICSPFT ). ICSPFT : International Committee for the Standardization of Physical Fitness Test. www.wt.ac.th/~donaldduck/p305/4.html

6. วิศาล คนธารัตนกุล และภาริส วงศ์แพทย์. (2544). คู่มือเวชศาสตร์ฟื้นฟู. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โฮลิสติก พับลิชชิ่ง.

7. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). สุขภาพคนไทย: ตายดี วิถ๊ที่เลือกได้. นครปฐม: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

8. สนธยา สีละมาด. (2557). กิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาวะ. จำนวน 1,000 เล่ม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.

9. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ. (2549). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพสำหรับเด็กไทย 7-18 ปี. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร: สสส.

10. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2558). การสำรวจกิจกรรมทางกายประชากร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติพยากรณ์.

11. สุพิตร สมาหิโต. (2541). แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย Kasetsart youth fitness test. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.