ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานกัมพูชากับความผูกพันต่อโรงงานคัดบรรจุ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

อภิวรรณ ศิรินันทนา

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานและระดับความผูกพันของแรงงานกัมพูชา โรงงานคัดบรรจุ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานกัมพูชากับความผูกพันต่อโรงงานคัดบรรจุ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แรงงาน               กัมพูชาที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานจัดหางานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และทำงานอยู่ในโรงงานคัดบรรจุ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี จำนวน 335 คน ด้วยการสุ่มแบบโควต้า เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานกัมพูชา โรงงานคัดบรรจุ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความผูกพันของแรงงานกัมพูชาต่อโรงงานคัดบรรจุ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานกัมพูชากับความผูกพันโรงงานคัดบรรจุ อำเภอ                 โป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี อยู่ในระดับสูง 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กลุ่มพัฒนาระบบตรวจรับมาตรฐานสินค้า (กตม.). (2559). รายชื่อสถานประกอบการที่ผ่านการรับรอง. กรมวิชาการเกษตร.

2. ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์ แอนด์ดี.

3. นพพร พงศ์ทิพย์พิทักษ์. (2557). วิถีชีวิตการทำงานของแรงงานพม่า ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

4. นิดารัตน์ วันเพ็ญ. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานพม่าในอุตสาหกรรมการเกษตร กรณีศึกษาอำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. งานวิจัยรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ด.

5. ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2552). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์.

6. บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์.

7. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. ลำไยนอกฤดูจันท์ 2.9 แสนตัน. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. [Online]. เข้าถึงได้จาก https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1486356450.2560.

8. วรวุฒิ จอดนอก. (2557). ความผูกพันกับองค์การของคนงานก่อสร้างในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ. งานวิจัยปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

9. สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน. (2560). สถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2560. ฝ่ายสารสนเทศ กลุ่มงานพัฒนาระบบควบคุมการทำงานของคนต่างด้าว.

10. อาจินต์ สงทับ และวุฒิชัย ทองสามสี. (2560). การพัฒนาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวในอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 11(กุมภาพันธ์): 25-28.

11. Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (January 1970). Determining Sample Size for Research Activities ,Educational and Psychological Measurement. 30(November): 607-610.

12. Likitwattanakiat, C. (2008). Health care expenditure of immigrant labour in Mae Sot hospital, Tak province. Master of Arts (Political Economy) Thesis, Chiang Mai University.

13. March, R. & Mannari, H. (1997). Organization Commitment and Turnover: A Prediction Study. Administrative Science Quarterly. 22(January): 57-75.

14. Maslow, A. H. (1954). Motivation and Personality. New York: Harper and Row Publishers.

15. Ministry. L. (2007). Information of foreign workers in Thailand 2007. Bangkok: Author.

16. Steers, R. M. (1977). Antecedents and Outcomes of Organizational Commitment. Administrative Science Quarterly. 22(January): 46-56.

17. Worayod, R. (2007). Quality of life among Lao migrant workers in Nong Kai province. Master of Nursing Thesis, Khon Kaen University.