การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้า

Main Article Content

ปรัชภรณ์ เศรษฐเสถียร
กฤติยา เกิดผล

บทคัดย่อ

      งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงระบบการจัดเก็บสินค้า และเพิ่มประสิทธิภาพการเบิก-จ่ายสินค้า ศึกษาคลังสินค้าของร้านน้ำเพชร กลาส แอนด์ อลูมิเนียม จากการศึกษาดำเนินงาน พบปัญหา คือ สินค้ามีการจัดเก็บไม่เป็นระเบียบ ส่งผลให้ใช้เวลานานในการค้นหาสินค้า และสินค้าที่ถูกจัดเก็บไว้เป็นเวลานานเกิดความชำรุด ดังนั้นจึงได้มีการเก็บข้อมูลรายการสินค้า เพื่อคัดแยกประเภทสินค้าพบว่า สินค้าภายในร้านมี 13 ประเภท แบ่งออกได้ทั้งหมด 93 ชนิด สามารถจัดประเภทสินค้าหลักๆ ได้ 3 ประเภท จากนั้นใช้การวิเคราะห์  ABC Classification และ Visual Control เพื่อใช้ในการคัดแยก การจัดหมวดหมู่สินค้า เรียงลำดับความสำคัญ และจัดทำป้ายบ่งชี้ตำแหน่งการจัดวางสินค้าบนชั้นสินค้า พบว่าการปรับปรุงระบบการจัดเก็บสินค้าแบบใหม่  ทำให้สินค้ามีการจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ และใช้ระยะเวลาในการเบิกจ่ายสินค้าลดลง จากเดิมระยะเวลารวมในการหยิบสินค้า 12 ชั่วโมง 21 นาที 18 วินาที  ลดลงเป็น 6 ชั่วโมง 25 นาที 23 วินาที ซึ่งสามารถวัดประสิทธิภาพเวลาในการหยิบสินค้าลดลง 48.17%

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กุลรัตน์ สุธาสถิติชัย. (2552). Visual Control. มหาวิทยาลัยสงขานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี, ปัตตานี.

2. คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2550). การจัดการคลังสินค้า Warehouse management. กรุงเทพฯ: โฟกัส มีเดีย แอนด์ พับลิซซิ่ง จำกัด.

3. คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2557). การจัดการเอกสารในคลังสินค้า Warehouse document management. กรุงเทพฯ: โฟกัส มีเดีย แอนด์ พับลิซซิ่ง จำกัด.

4. ปฐมพงษ์ หอมศรี และ จักรพรรณ คงธนะ. (2557). การพัฒนาระบบการจัดการสินค้าคงคลัง: กรณีศึกษา บริษัทติดตั้งและบำรุงรักษาเครื่องจักรของโรงงาน SME. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7(2), หน้า 42-56.

5. ประชาสรรณ์ แสนภักดี. (2550). การประยุกต์ใช้แผนที่ความคิดในการระดมสมอง. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://www.prachasan.com/mindmapknowledge/Brainstorm.htm. 3 เมษายน 2560.

6. ประเสริฐ ลาดสุวรรณ. (2549). การศึกษาแนวคิดระบบการจัดเก็บมาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพตำแหน่งการจัดวางสินค้าในคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัทศรีไทยซุปเปอร์แวร์จำกัด (มหาชน). งานนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา การจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.

7. ประเสริฐ ลาดสุวรรณ. (2549).การลดระยะทางการเคลื่อนย้ายสอนค้าในคลังสินค้าโดยใช้ระบบ การจัดเก็บแบบแบ่งกลุ่มสินค้า.

8. เมธีนี ศรีกาญจน์. (2555). การปรับปรุงประสิทธิภาพตำแหน่งการจัดวางสินค้าในคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัทศรีไทยซุปเปอร์จำกัด (มหาชน). ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์, บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

9. สมศักดิ์ ตรีสัตย์. (2545). การออกแบบและวางผังโรงงาน Plant layout and design. กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

10. สุนันทา ศิริเจริญวัฒน์. (2555). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัท ภูมิไทย คอมซีส จำกัด. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

11. อชิระ เมธารัชตกุล. (2557). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษา: บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์. หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, มหาวิทยาลัยบูรพา.

12. Charles, G.P. (2002). Considerations in order picking zone configuration. Journal of Operation and Production Management, Vol. 22, No.7, pp. 793-805.

13. James, A.T. and Jerry, D.S. (1998). The Warehouse Management Handbook. Second edition, Tompkins press, pp. 823-848.

14. Tompkins & Smith. (1988). The Warehouse Management Handbook North. Carolina: Mcgraw-Hill.