ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การปฏิบัติกลองชุดเบื้องต้น โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการฝึกทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสวน(จั่นอนุสรณ์)

Main Article Content

หทัยภัทร ศุภคุณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียน  ศึกษาทักษะปฏิบัติ และศึกษาเจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การปฏิบัติกลองชุด รูปแบบที่ใช้ในการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) โดยแบบแผนการทดลองที่ใช้คือ แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (One group pretest-posttest design) กลุ่มประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสวน (จั่นอนุสรณ์) จำนวน 11 ห้องเรียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ จำนวน 1 ห้องเรียน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random sampling) จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การปฏิบัติกลองชุดเบื้องต้น โดยใช้รูปแบบการฝึกทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ จำนวน 10 แผน 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินทักษะการปฏิบัติกลองชุดเบื้องต้น 4) แบบวัดเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้การปฏิบัติกลองชุดเบื้องต้น สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การปฏิบัติกลองชุดเบื้องต้น มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. 2. ผลค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการปฏิบัติกลองชุดเบื้องต้น พบว่า มีค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนทักษะปฏิบัติอยู่ที่ 89

  3. 3. เจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การปฏิบัติกลองชุดเบื้องต้น มีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติ

ที่ดีอยู่ที่ 4.25 มีค่าความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
2. กรมวิชาการ. (2546). แนวทางการประเมินผลด้วยทางเลือกใหม่ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
3. คันธารัตน์ ธรรมธร (2557). การเปรียบเทียบทักษะการตีกลองยาว ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดปริวาส ระหว่างการใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ กับการสอนปกติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
4.ชนก สาคริก. (2530). ดนตรีไทยยุคคอมพิวเตอร์. ใน ที่ระลึกไหว้ครูดนตรีไทยและแจกรางวัลศรทอง.กรุงเทพฯ: มูลนิธิหลวงประดิษฐ์ไพเราะ.
5. ซ่อนกลิ่น เรืองยังมี. (2552). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ ที่มีต่อความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยทัก
6. ปนัศา ยั่วยวน. (2557). ผลการพัฒนาทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ดอกไม้แห้งโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของเดวีส์ กลุ่มการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
7. พรวิไล จุลเสวก. (2550). การพัฒนาการเรียนรู้โน้ตดนตรีสากลโดยใช้ชุดฝึกทักษะเมโลเดียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองขวาง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
8. วรีวรรณ โขนงนุช. (2551). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการเขียนลายสังคโลก โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
9. วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2551). การพัฒนาการเรียนการสอน. เอกสารประกอบการเรียนการพัฒนาการเรียนการสอน ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
10. วิริยะสมร บัวทอง. (2554). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบของเดวีส์และรูปแบบที่เน้นทักษะ กระบวนการ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การประดิษฐ์บายศรี ความคิดสร้างสรรค์
และเจตคติต่อการเรียนของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
11. ศศวรรณธร วงษ์ประดิษฐ์. (2557). การพัฒนาทักษะการพิมพ์สัมผัส ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยรูปแบบการสอนตามแนวคิดของเดวีส์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร
และการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
12. สุพัตรา รักชาติ. (2556). ผลการสอนทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ เสริมด้วยแบบฝึกทักษะที่เน้นเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อน ที่มีผลสัมฤทธิ์และทักษะปฏิบัติดนตรีไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุครธานี.
13. อมรลักษณ์ สามใจ. (2558). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การวาดภาพระบายสีด้วยดินสอสี โดยใช้รูปแบบการฝึกทักษะการปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
14. Davies, I.K. (1971). The Management of Learning. London : McGraw-Hill.