ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากลจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17

Main Article Content

จักรกรี โพธิ์ศรี
ประยูร อิ่มสวาสดิ์
สมุทร ชำนาญ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากลจังหวัดจันทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17 ของโรงเรียนที่ผ่านการประเมินโรงเรียนมาตรฐานสากล จำนวน 7 โรงเรียน ตามตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน(Krejcie & Morgan, 1970) ได้กลุ่มตัวอย่าง 242 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .899 ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากล ทุกปัจจัยอยู่ในระดับมาก การบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพในโรงเรียนแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากลมีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกตัว และผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากล พบว่าปัจจัยต่างๆร่วมกันพยากรณ์การบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากลได้ร้อยละ 70.8  ที่ระดับนัยสำคัญ .01 สามารถเขียนสมการพยากรณ์ได้ดังนี้


 Y = 0.606 + 0.157**(X9) + 0.153**(X7) + 0.071(X6) + 0.158**(X8) + 0.084(X4) +0.124(X5)   + 0.110(X10)


 Z = 0.211**(X9) + 0.179**(X7) + 0.098 (X6) + 0.182**(X8) + 0.100 (X4) +0.144 (X5) + 0.135 (X10)


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ความก้าวหน้าการจัดตั้งเขตพื้นที่การศึกษา (มัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ :กระทรวงศึกษาธิการ.

2. กษมาพร ทองเอื้อ. (2555). ปัจจัยที่มิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

3. จารุวรรณ พลอยดวงรัตน์. (2557). การบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากลสู่ความเป็นเลิศ. วารสารบริหารการศึกษา มศว. 11 (พฤศจิกายน): 176-179.

4. เชิดชัย ฮวดศรี. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาของแก่น เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

5. ทรงศักดิ์ สู่สุข. (2551). ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

6. ธนิต เดือนแจ้งรัมย์. (2551). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

7. ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย. (2557). พื้นฐานการจัดการการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

8. ธำรง ฦาชา. (2557). ปัจจัยเชิงพหุระดับที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

9. นิตยา กาญจนรักษ์ (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

10. ปาณิสรา สิงหพงษ์. (2555). การบริหารตามแนวรางวัลคุณภาพแห่งชาติที่ส่งผลต่อการเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 14 จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

11. พระสมุห์บุญชู ชุติปญโญ บุญวงค์ (2550). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

12. เมธี ทองคำ. (2558). การบริหารจัดการระบบคุณภาพในโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

12. เยาวดี พันเพชรศรี. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

13. สุรเดช คำวันดี. (2553). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย ราชภัฏราชนครินทร์.

14. สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2555). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

15. สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2557). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล ปี 2557-2558. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

16. อรัญญา ผลจิตต์ (2555). สภาพการบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 17. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

17. อุมาพร สันตจิตร. (2552). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จของในการบริหารสถานศึกษาเอกชนระดับประถมวัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

18. Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3): 608-609.