การศึกษาการปรับตัวของประชาชนในจังหวัดจันทบุรีทั้งก่อนและหลังเกิดอุทกภัย

Main Article Content

ดวงมณี ทองคำ
พรพิมล ฉายแสง
กฤติยาภรณ์ คุณสุข
กิตติรัตน์ รุ่งรัตนาอุบล
ปัญญา วงศ์ต่าย
เกรียงไกร ตรีฤทธิวิทยา
ชัยวัฒน์ เอกวัฒน์พานิช
ไพลิน ทองสนิทกาญจน์

บทคัดย่อ

 


งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการปรับตัวของประชาชนในจังหวัดจันทบุรีทั้งก่อนและหลังเกิดอุทกภัย กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาเป็นประชาชนในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยในจังหวัดจันทบุรีกับเจ้าหน้าที่งานป้องกันและบรรเทาอุทกภัย โดยใช้แบบสอบถามแบบเลือกตอบ การสัมภาษณ์ และการสังเกตเป็นเครื่องมือในการศึกษา ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่าประชาชนในจังหวัดจันทบุรีมีพฤติกรรมการปรับตัวภายหลังจากที่ประสบอุทกภัยมาแล้วหลายครั้งกล่าวคือมีการสังเกตปริมาณน้ำที่หลากมายังพื้นที่อยู่อาศัย เพื่อเฝ้าสังเกตการณ์สถานการณ์อุทกภัย และคอยติดตามข่าวสารการแจ้งเตือนอุทกภัยจากหน่วยงานของรัฐ เมื่อมีการแจ้งเตือนอุทกภัยหรือระดับในแม่น้ำอยู่ในระดับวิกฤต (ระดับน้ำสูงประมาณ 1.00-1.50 เมตร) ก็สามารถรับมือกับอุทกภัยได้ ทั้งการเก็บสัมภาระเตรียมพร้อมภายในที่อยู่อาศัย และเตรียมพร้อมในการเคลื่อนย้ายยานพาหนะและสัตว์เลี้ยงไปยังที่ปลอดภัย มีการเตรียมด้านของใช้ในชีวิตประจำวันทั้งอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค และอุปกรณ์ให้แสงสว่าง อีกทั้งหน่วยงานของรัฐยังมีความพร้อมในด้านการกระจายความช่วยเหลือ หน่วยแพทย์/บรรเทาสาธารณภัย เหตุการณ์อุทกภัยที่ผ่านมานั้นส่งผลให้เกิดความเสียหายเพียงบางส่วน มีมูลค่าความเสียหายไม่ถึง 10,000 บาทต่อครอบครัว จากที่กล่าวมาข้างต้นจึงทำให้ประชาชนมีสภาพจิตใจยังคงเป็นปกติ ปัจจุบันประชาชนที่ยังอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยนั้นสามารถยอมรับได้กับปัญหาอุทกภัย และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อรับมือปัญหาอุทกภัย


สำหรับเจ้าหน้าที่ส่วนงานป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในจังหวัดจันทบุรี พบว่ามีการวางแผนในการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยทั้งทางด้านอัตรากำลัง ความพร้อมทั้งทางด้านอุปกรณ์ ช่องทางการสื่อสาร งบประมาณ อบรมเตรียมความพร้อม การเตือนภัย การเยียวยา และการป้องกัน ประสิทธิภาพในการรับมืออุทกภัยในจังหวัดจันทบุรีอยู่ในระดับปานกลาง โดยที่จังหวัดจันทบุรีมีหน่วยงานป้องกันและบรรเทาอุทกภัยครอบคลุมทุกพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยทั้งในระดับเทศบาลเมือง เทศบาลตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมีความเข้าใจกับปัญหาอุทกภัยในพื้นที่รับผิดชอบเป็นอย่างดี นอกจากนี้จังหวัดจันทบุรีมีการบูรณาการความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. สำนักงานชลประทานที่ 9. (2550). งานศึกษาทบทวนและสำรวจออกแบบรายละเอียดโครงการบรรเทาอุทกภัยเมือง จันทบุรี (แผนระยะที่ 2).รายงานการศึกษา กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

2. กรมทรัพยากรน้ำ.(2550).โครงการเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์ปฏิบัติการพยากรณ์เตือนภัยเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ.รายงานการศึกษา เสนอต่อกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

3. กองนโยบายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย.(2558).สรุปประกาศภัยภิบัติกรณีฉุกเฉินในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี พ.ศ.2558.กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย.

4. กรมโยธาธิการและผังเมือง. (2559). โครงการวางผังและมาตรการบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก. กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย

5. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ข้อมูลสถิติจากการสำมะโน/สำรวจ/รายงานสถิติจังหวัด/สำรวจพิเศษ.[Online].Available:https://chanthaburi.old.nso.go.th/nso/project/search/index.jsp?=2. 2560.

6. เทียนชัยหรรรุ่งโรจน์. (2549).การปรับตัวของประชาชนในตำบลนานกกกอำเภอลับแลจังหวัดอุตรดิตถ์เพื่อการดำรงชีวิต หลังเกิดอุทกภัยปีพ.ศ. 2549.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

7. สิทธิศักดิ์ เท่าธุรี. (2544).การรับรู้และการปรับตัวของประชาชนบ้านน้ำก้อภายหลังเกิดภัยพิบัติจากอุทกภัยในปีพ.ศ. 2544. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

8. เมตตา ผิวขำ.(2549).การปรับตัวของผู้ที่ประสบกับปัญหาอุทกภัยซ้ำซากกรณีศึกษาชุมชนบ้านหาดสวนยาอำเภอวารินชำ ราบจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

9. ปัญญา ธีระวิทยเลิศ. (2548). การวิเคราะห์แบบสอบถามรายข้อ.วารสารสมาคมนักวิจัย. 10(ปักษ์ 2 สิงหาคม) : 42–44.

10. Yamane, Taro. (1967). Statistics, An Introductory Analysis, 2nd Ed., New York: Harper and Row.