ความเสี่ยงด้านการลงทุนที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและศักยภาพธุรกิจ SMEs ในเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนภาคตะวันออกจังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ฉวี สิงหาด
ทัศนัย ขัตติยวงษ์
ทิพวรรณ์ นิยมวงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และประเมินการจัดการความเสี่ยงด้านการลงทุนที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพและศักยภาพธุรกิจ SMEs ในเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนภาคตะวันออกจังหวัดจันทบุรี โดยกลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบการในเขตการค้าชายแดนจังหวัดจันทบุรีจำนวน 313 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าความสัมพันธ์โดยใช้วิธีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (Pearson correlation)ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01และวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05  ผลการวิจัยพบว่าผลกระทบระดับปานกลางต่อประสิทธิภาพและศักยภาพธุรกิจ SMEs ในเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนภาคตะวันออกจังหวัดจันทบุรีประกอบด้วยปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังนี้คือ 1) ความเสี่ยงต่อความขาดแคลนเงินทุนระยะยาว 2) ความเสี่ยงในการบริหารเงินทุนระยะยาวและ 3) ความเสี่ยงของผลการดำเนินงานด้านเงินทุนระยะยาว  งานวิจัยยังพบว่าผลกระทบระดับต่ำต่อประสิทธิภาพและศักยภาพธุรกิจ SMEs ในเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนภาคตะวันออกจังหวัดจันทบุรีประกอบด้วยปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังนี้คือ 4) ความเสี่ยงของการได้มาและใช้ไปของเงินทุนระยะยาว 5) ความเสี่ยงของแหล่งเงินกู้ระยะยาวในการให้กู้ยืม และ 6) ความเสี่ยงของการบริหารเงินกู้ระยะยาวนำมาลงทุนในสินทรัพย์


งานวิจัยนี้พบว่าค่าความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพและศักยภาพของผลการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs มีความสัมพันธ์ทิศทางเดียวกัน(มีค่าเป็นบวก)ในระดับปานกลางกับ 2 ปัจจัยคือ 1) ปัจจัยความเสี่ยงต่อความขาดแคลนเงินทุนระยะยาว 2) ระดับความเสี่ยงของแหล่งเงินกู้ระยะยาวในการให้กู้ยืม และ มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับ 1 ปัจจัยคือ 1) ความเสี่ยงของการได้มาและใช้ไปของเงินทุนระยะยาว  ค่าความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพและศักยภาพของผลการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs มีความสัมพันธ์ทิศทางตรงกันข้าม(มีค่าเป็นลบ)ในระดับปานกลางกับ 3 ปัจจัยคือ 1) ความเสี่ยงของการบริหารเงินกู้ระยะยาวนำมาลงทุนในสินทรัพย์  2) ความเสี่ยงในการบริหารเงินทุนระยะยาว และ 3) ความเสี่ยงของผลการดำเนินงานด้านเงินทุนระยะยาวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


นอกจากนี้ผลการวิจัยยังตรวจสอบพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลและส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพและศักยภาพการดำเนินงานของธุรกิจ SMEs ในเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนภาคตะวันออกจังหวัดจันทบุรีได้ถึงร้อยละ70.7 คือปัจจัยดังต่อไปนี้ 1) ความเสี่ยงของการได้มาและใช้ไปของเงินทุนระยะยาว 2) ความเสี่ยงของการบริหารเงินกู้ระยะยาวนำมาลงทุนในสินทรัพย์และ 3) ความเสี่ยงในการบริหารเงินทุนระยะยาวโดยแสดงค่าเป็นโมเดลทางคณิตศาสตร์ได้ดังนี้


Y     = 0.071X2- 0.615X5- 0.479X4


Y     = ระดับของประสิทธิภาพและศักยภาพธุรกิจ SMEs


X1    = ระดับความเสี่ยงต่อความขาดแคลนเงินทุนระยะยาว


X2    = ระดับความเสี่ยงของการได้มาและใช้ไปของเงินทุนระยะยาว


X3    = ระดับความเสี่ยงของแหล่งเงินกู้ระยะยาวในการให้กู้ยืม


X4    = ระดับความเสี่ยงของการบริหารเงินกู้ระยะยาวนำมาลงทุนในสินทรัพย์


X5    = ระดับความเสี่ยงในการบริหารเงินทุนระยะยาว


X6    = ระดับความเสี่ยงของผลการดำเนินงานด้านเงินทุนระยะยาว


โดยสรุปผลการวิจัยพบว่าผู้ประกอบการ SMEs มีประสิทธิภาพและศักยภาพการดำเนินงานของธุรกิจที่ดีและเหมาะสม มีความมั่นใจและมีความเสี่ยงน้อยในการประกอบธุรกิจและการดำเนินการค้าในเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนภาคตะวันออกจังหวัดจันทบุรีและพบว่าผู้ประกอบการ SMEs มีเงินทุนที่ใช้ในระยะยาวมาจากผลการดำเนินงาน(กำไรจากการดำเนินงาน)มากกว่าการได้เงินทุนที่มาจากสินทรัพย์ถาวรและสินเชื่อระยะยาวของสถาบันการเงิน  ดังนั้นแนวทางการจัดการความเสี่ยงด้านการลงทุนทางการเงินของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs คือการบริหารจัดการความเสี่ยงด้วยวิธีการยอมรับและลดความเสี่ยงโดยการดำเนินธุรกิจและการแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตามแต่ละโอกาสของสภาวะเศรษฐกิจและการเมืองในเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนภาคตะวันออกจังหวัดจันทบุรี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กองความร่วมมือการค้าและการลงทุน กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. สถิติการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนของประเทศไทย ปี 2559 – 2561. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dft.go.th/Portals/3/PDF%20% สถิติการค้าชายแดน%20ธ.ค%2061.pdf. 15 มกราคม 2562.
2. ชิตพล ชัยมะดัน และ ศรุติ สกุลรัตน์. (2558). นโยบายการค้าชายแดนไทย-กัมพูชากับการปรับตัวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน:กรณีศึกษาจังหวัดจันทบุรี. วารสารราชพฤกษ์ ปีที่ 13 (ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2558): 76-85.
3. ฐานเศรษฐกิจออนไลน์. (2559). พาณิชย์เดินหน้าผลักดันล้งไทยเพื่อขยายการค้าด่านชายแดน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thansettakij.com/content/61262. 10 มิถุนายน 2560.
4. ทัศนัย ขัตติยวงษ์ ละเมียด ควรประสงค์ และทิพวรรณ์ นิยมวงศ์. (2561). ความเสี่ยงด้านการลงทุนทางการเงินที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจ SMEs ในเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนภาคตะวันออกจังหวัดสระแก้วและจันทบุรี. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
5. ทัศนัย ขัตติยวงษ์ ละเมียด ควรประสงค์ และ ทิพวรรณ์ นิยมวงศ์. (2561). ความเสี่ยงด้านการลงทุนที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจ SMEs ในเขตเศรษฐกิจการค้าชายแดนภาคตะวันออกจังหวัดสระแก้ว. งานประชุมวิชาการระดับชาติวิจัยรำไพพรรณี ครั้งที่ 12 เนื่องในวโรกาสคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ครบ 114 ปี. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. จันทบุรี
6. นวพร เรืองสกุล. (2551). กรอบโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงขององค์กรเชิงบูรณาการ: แนวทางการปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด(มหาชน).
7. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2545). เทคนิคการวิเคราะห์งบการเงินบริษัทจดทะเบียน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ส่วนสิ่งที่พิมพ์ ฝ่ายสื่อสารองค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
8. สุชาติ ผดุงกิจ. (2558). เขตเศรษฐกิจพิเศษกับความคาดหวังของคนไทย. วารสารรัฏฐาภิรักษ์วารสารราย 4 เดือน ปีที่ 57 (ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558): 8-18.
9. สุณัฐวีย์ น้อยโสภา. (2559). “เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน”กลไกก้าวข้ามอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. ปีที่ 13 (ฉบับที่ 2 ประจำเดือน ตุลาคม-เดือนธันวาคม 2559): 87-98
10. ศิริประภา ศรีวิโรจน์ และลักขณา ลุสวัสดิ์. (2559). ธุรกิจ SMEs ของไทยกับความเสี่ยงด้านต้นทุนในยุคการค้าเสรีอาเซียน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ปีที่ 6 (ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม-เมษายน 2559): 1-20
11. วีระยุทธ ทนทาน. (2555). แนวทางการส่งเสริมสมรรถนะการทำธุรกิจของผู้ประกอบการการค้าชายแดนไทยลาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อรองรับการบูรณาการประชาคมอาเซียน. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวรราย 4 เดือน ปีที่ 20 (ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2555) : 67-77
12. อำพา แก้วกำกง. (2558). ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนชายแดนไทยกัมพูชาด้านจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์ ปีที่ 9 (ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2557): 12-29
13. Les Dlabay, James L. Burrow. (2008). Business Finance. OH; USA. Thomson: southwestern Mason.
14. VOICE TV 21. (2017, January 13). สำรวจตลาดบ้านแหลม การค้าชายแดนไทย-กัมพูชา. [Video file]. Retrieved from https://www.youtube.com/watch?v=Zzo_xR6fsxE