มาตรฐานทางจริยธรรม

หน้าที่แและความรับผิดชอบของบรรณาธิการ

วารสารวารสารวิจัยรำไพพรรณีได้พัฒนาคุณภาพวารสารมาโดยตลอด ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารได้ดำเนินการเผยแพร่วารสารวิจัยรำไพพรรณี ไปยังเครือข่ายมหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทั่วประเทศ เป็นประจำทุก 4 เดือน ปัจจุบันวารสารวิจัยรำไพพรรณีได้ผ่านการรับรองผลการประเมินคุณภาพวารสารในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 4 ในวารสารกลุ่ม 2 (พ.ศ.2563-2567) และเพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการวารสารและเป็นการปรับปรุงคุณภาพวารสารให้มีความน่าสนใจมากขึ้น

หน้าที่ของบรรณาธิการต่องานทั้งหมดที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร มีดังนี้:
. วารสารวิจัยรำไพพรรณีทำการปรับปรุงวารสารอย่างสม่ำเสมอตามเกณฑ์คุณภาพวารสารฯ
. วารสารวิจัยรำไพพรรณีได้ทำการรับรองคุณภาพของงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์รายบทความ
. วารสารวิจัยรำไพพรรณีคงไว้ซึ่งความถูกต้องของรายงานการศึกษาและมีการแนะนำข้อเสนอแนะจากผู้ประเมิน
. วารสารวิจัยรำไพพรณีมีการปกป้องมาตรฐานทางปัญญาจากความต้องการทางธุรกิจ
. วารสารวิจัยรำไพพรรณีดำเนินการทำการชี้แจงการแก้ไขด้วยความเต็มใจ การทำให้เกิดความกระจ่าง การถอน และการขออภัย หากจำเป็น

จรรยาบรรณ จริยธรรมของผู้นิพนธ์ (Author)

  1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าบทความที่ส่งเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิจัยรำไพพรรณี เป็นบทความใหม่ที่ไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ
  2. ผู้นิพนธ์ต้องให้ข้อมูลจากการวิจัยที่ถูกต้อง ไม่บิดเบือนหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
  3. ผู้นิพนธ์เมื่อนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ในบทความ ต้องอ้างอิงผลงานของผู้อื่น โดยจัดทำรายการอ้างอิงให้ถูกต้องครบถ้วนทั้งในเนื้อหาและท้ายบทความ
  4. ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ของต้นฉบับในทุกกรณี หากละเมิดลิขสิทธิ์ หรือคัดลอกผลงานผู้อื่น ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์เท่านั้น มิใช่ความรับผิดชอบใด ๆ ของกองบรรณาธิการวารสารวิจัยรำไพพรรณี
  5. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในวารสารวิจัยรำไพพรรณี

      6. ผู้นิพนธ์ต้องตรวจสอบรายละเอียดบทความที่จะตีพิมพ์ในวารสารวิจัยรำไพพรรณีให้ถูกต้องเป็นไปตามหลักจริยธรรมสากลที่ได้รับการยอมรับ

จรรยาบรรณ จริยธรรมของบรรณาธิการ (Editor)

  1. บรรณาธิการจะดำเนินการตามมาตรฐานจริยธรรมและจรรยาบรรณวารสารวิชาการไทย เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพทางวิชาการของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิจัยรำไพพรรณี
  2. บรรณาธิการต้องคัดเลือกบทความที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และนโยบายของวารสารผ่านกระบวนการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่พิชญพิจารณ์บทความแล้วเท่านั้น
  3. บรรณาธิการต้องตัดสินใจในการยอมรับหรือปฏิเสธบทความเพื่อการตีพิมพ์ด้วยเหตุผลที่สามารถอธิบายทางวิชาการได้
  4. 4. บรรณาธิการมีระบบในการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อนหรือการขัดกันด้านผลประโยชน์ ของบรรณาธิการเอง รวมทั้งของเจ้าหน้าที่วารสาร ผู้นิพนธ์บทความ ผู้ประเมินบทความ และ กองบรรณาธิการ
  5. บรรณาธิการต้องชี้แจงหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบประเมินบทความ (Peer review)ให้กับ ผู้นิพนธ์ในกรณีที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการประเมินบทความ
  6. หากเกิดขึ้นความผิดพลาดกับบทความที่ตีพิมพ์ไปแล้ว หรือมีประโยคที่นำไปสู่ความเข้าใจผิด หรือมีรายงานที่บิดเบือนข้อเท็จจริง บรรณาธิการต้องแก้ไขให้ถูกต้องและชัดเจนทันที
  7. บรรณาธิการต้องมีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของวารสารอย่างสม่ำเสมอ และรับรองคุณภาพของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร

      8. บรรณาธิการต้องดำเนินการเผยแพร่วารสารให้ได้ตามกำหนดการตีพิมพ์ที่ระบุไว้

จรรยาบรรณ จริยธรรมของผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (Reviewer)

  1. ผู้ประเมินบทความต้องพิจารณาประเมินคุณภาพบทความด้วยวิธีลับ โดยไม่เปิดเผยข้อมูลใด ๆ ของบทความที่พิจารณาให้แก่บุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
  2. ผู้ประเมินบทความควรประเมินคุณภาพของการวิเคราะห์ ความเข้มข้นของผลงาน มีข้อเสนอแนะที่สอดคล้อง และเป็นประโยชน์แก่ผู้เขียนบทความมากที่สุด
  3. ผู้ประเมินบทความสามารถปฏิเสธการประเมินบทความได้ หากพบผลประโยชน์ทับซ้อน หรือ บทความไม่เป็นตามคุณภาพของหลักวิชาการ
  4. ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ หากพบส่วนใดของบทความมีการคัดลอกผลงาน หรือซ้ำซ้อนในผลงานชิ้นอื่น ๆ

จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์และสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (ถ้ามี)

             บทความที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์หรือสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ผู้เขียนต้องมีหลักฐานยืนยันว่าบทความดังกล่าวได้ผ่านการรับรองจริยธรรมจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์หรือสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์แล้ว (ถ้ามี)