แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี

Main Article Content

ภูวดล บัวบางพลู

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ 2) ศึกษาสภาพการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ และ 3) เสนอแนวทางในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ โดยศึกษาเอกสารจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์ และทำการสนทนากลุ่มกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ในด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ 1) อุทยานฯ ควรขึ้นราคาค่าเข้าชมอุทยานฯ ในช่วงเทศกาลท่องเที่ยว 2) จัดกิจกรรมการท่องเที่ยวให้น่าสนใจ และนำเสนอขายในราคาเหมา (Package) 3) ทำการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว เพื่อจูงใจ และให้เป็นที่รู้จักแก่นักท่องเที่ยวมากขึ้น 4) ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวตลอดทั้งปี เพื่อให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง 5) พัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานในการให้บริการด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อให้นักท่องเที่ยวประทับใจ และเกิดการกลับมาเที่ยวซ้ำ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ 1) ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการการท่องเที่ยวภายในอุทยานฯ ให้มากขึ้น 2) สรรหาบุคลากรที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เพื่อนำมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในอุทยานฯ 3) ส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรทั้งธรรมชาติ และวัฒนธรรม เพื่อให้มีทรัพยากรทางการท่องเที่ยวที่คงอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป 4) จัดตั้งกลุ่มหรือองค์กรด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของอุทยานฯ โดยคณะกรรมการกลุ่มประกอบด้วยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการท่องเที่ยว และด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1) กำหนดขีดความสามารถในการรองรับได้ของพื้นที่บริเวณเขาพระบาท 2) จัดระเบียบการเข้าชม โดยเฉพาะช่วงเทศกาลท่องเที่ยว 3) กำหนดบทลงโทษที่ชัดเจน และเข้มงวด เพื่อป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4) จัดทำคู่มือท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2558). การจำแนกเขตการจัดการพื้นที่อุทยานแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2559, จาก https://portal.dnp.go.th.

2. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2544). แผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: อัลซา.

3. ฐานเศรษฐกิจออนไลน์. (2559). ท่องเที่ยวไทยปี 58 ทำสถิติใหม่โกยรายได้ทะลุเป้า 2.23 ล้านล้าน. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2559, จาก https://www.thansettakij.com

4. วรรณา วงษ์วานิช. (2539). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

5. สันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์. (2550). การท่องเที่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย. จุลสารวิชาการอิเลคทรอนิกส์ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2559, จาก https://www.etatjournal.com

6. Glen T. Hvenegaard. (1994). Ecotourism: A status report and conceptual framework. The Journal of Tourism Studies., 5(2), 24-35.

7. Jerry and Ameeta. (2006). A Framework for Sustainable Ecotourism: Application to Costa Rica. Tourism and Hospitality Planning & Development., 3(2), 131-142.

8. Jetsalid Angsukanjanakul. (2017). Modeling Sustainable Management for Community-based Tourism: A Case Study of Floating Markets in the Lower Central Thailand. International Journal of Management and Applied Science., 3(1), 43-46.

9. Morrison, A. M. and Mill, R. (1992). The Tourism System.: and Introductory Text. New Jersey:Prince - Hall Intentional Inc.The Asia-Pacific Ecotourism Industry. (2012). 7th ASIA PASIFIC ECO TOURISM CONFERENCE. Retrieved on August 19, 2016. From: https://www.penang.gov.my/dmedia/2167-7th-asia-pasific-eco-tourism-conference-apeco-2012.

10. Xu, S., Mingzhu, L., Bu, N., & Pan, S. (2017). Regulatory frameworks for ecotourism: An application of Total Relationship Flow Management Theorems. Tourism Management., 61, 321-330.