พัฒนาการและรูปแบบการจัดการทรัพยากรของชุมชนบ้านท่าคุระและชุมชนบ้านคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

ขวัญดาว ปิ่นทองพันธุ์

บทคัดย่อ

ศึกษาเรื่องพัฒนาการและรูปแบบการจัดการทรัพยากรของชุมชนบ้านท่าคุระและชุมชนบ้านคลองรี   อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพัฒนาการ การจัดการทรัพยากรของชุมชนบ้านท่าคุระและชุมชน บ้านคลองรีช่วงปีพ.ศ.2519 -2560 และศึกษารูปแบบการจัดการทรัพยากรชุมชนบ้านท่าคุระและชุมชนบ้านบ้านคลองรี หาจุดแข็งจุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ของทั้งสองชุมชนในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลสาบสงขลา(ตอนกลาง) การศึกษาแบ่งออกเป็นสองช่วงเวลาคือศึกษาการใช้ประโยชน์และรูปแบบในการจัดการทรัพยากรและรูปแบบที่ใช้ในการวางแผนแก้ปัญหาและพัฒนาที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจในพื้นที่ เพื่อนำรูปแบบการจัดการทรัพยากรแบบพหุภาคีนำไปประยุกต์ใช้และแก้ไขปัญหาในพื้นที่ เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาการจัดการทรัพยากรที่เหมาะสม การศึกษาครั้งนี้ได้ใช้แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืน การจัดการทรัพยากร โดยนำเครื่องมือ SWOT ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อหาจุดแข็งจุดอ่อน ปัญหาอุปสรรค และโอกาส ของพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลสาบสงขลาและนำแนวคิดการจัดการอย่างมีส่วนร่วมใช้ในการแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดความยั่งยืนและสอดคล้องกับพื้นที่ทางสังคม วัฒนธรรม


            ผลการศึกษาพบว่า ประการแรก พัฒนาการด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติทั้งสองช่วงเวลามีการจัดการทรัพยากรทั้งสองชุมชนมีความเหมือน  โดยแบ่งเป็นสองยุค โดยการจัดการทรัพยากรพบว่าทั้งสองยุคมีความแตกต่างดังนี้ 1) ยุคแห่งการพัฒนาพิงพึ่งทรัพยากรธรรมชาติ : ก่อนการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลสาบสงขลา ชาวบ้านสามารถเข้าถึงทรัพยากรโดยไม่มีกฎระเบียบแบบลายลักษณ์อักษร ไม่มีโครงสร้างที่ตายตัวมีแต่เพียงด้านความเชื่อในสิ่งศักดิ์ที่ชาวบ้านเคารพนับถือ ทำให้ชาวบ้านทั้งสองชุมชนมีการเคารพกฎกติกาควบคุมดูแลกันเองภายในชุมชน ซึ่งเป็นวิถีการจัดการโดยชาวบ้าน 2) ยุคแห่งการพัฒนา หลังการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลสาบสงขลา (2519) เกิดรูปแบบการจัดการทรัพยากรในลักษณะที่ตายตัว โดยรัฐออกตัวบทกฎหมายเข้ามาจัดการดูแลพื้นที่ มีการบังคับใช้นโยบายและมาตรการการอนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกันวิธีการจัดการโดยภาครัฐนั้นมีหน่วยงานต่างๆ ที่ดูแลในพื้นที่เดียวกัน ได้ส่งผลให้เกิดปัญหาในเรื่องกันจัดการที่ทับซ้อน


ประการที่สอง การใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในเขตพื้นที่ก่อนการประกาศชาวบ้านสามารถเข้าถึงทรัพยากรใช้ประโยชน์จากทรัพยากรได้อย่างอิสระ เมื่อรัฐประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าชาวบ้านได้ถูกกำจัดสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากร


ประการสุดท้าย พบว่า เมื่อใช้เครื่องมือ SWOT วิเคราะห์ปัจจัยภายใน ด้านจุดแข็งของพื้นที่ทะเลสาบสงขลาปรากฏนกนานาพันธุ์ชนิดที่อพยพมาจากไซบีเรียนมีความอุดมสมบูรณ์ทางพื้นที่สูง จุดอ่อน คือ การจัดการที่ทับซ้อนในพื้นที่เดียวกัน ปัจจัยภายนอกด้านโอกาส ภายนอกมีการใช้สถานที่เป็นแหล่งศึกษาข้อมูลทางธรรมชาติเช่นค่ายอนุรักษ์ อุปสรรคที่ขัดขวางจากภายนอกเป็นแหล่งรองรับน้ำเสียจากชุมชน


            การจัดการเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้านการจัดการทรัพยากรโดยใช้รูปแบบพหุภาคีก่อให้เกิดความยั่งยืนแก่ทรัพยากรตลอดจนด้านสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของชุมชนทั้งสองได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ชูศักดิ์ วิทยาภัค.(2531). ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำปิงตอนเหนือ: ศึกษากรณีอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โครงการศึกษาชุมชนภาคเหนือกับศักยภาพในการพัฒนา.รายงานการวิจัย.สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
2. ซิมบา ชาน.(2544). คู่มือการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้.กรุงเทพ:กระทรวงสิ่งแวดล้อม ประเทศญี่ปุ่น.
3. ภูวดล บัวบางพลู. (2561). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน อุทยานแห่งชาติเขาคิชกูฏ จังหวัดจันทบุรี. รำไพพรรณี. 12 (พฤษภาคม- สิงหาคม): 91-101.
4.มนัส สุวรรณ.(2539).นิเวศวิทยามนุษย์.กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
5. ยศ สันติสมบัติ.(2536). “โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการป่าชุมชน”ในเสน่ห์ จามริกและยศ สันติสมบัติ(บก).,ป่าชุมชนในประเทศไทย: แนวทางการพัฒนา.หน้า 125-152.กรุงเทพ:สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
6. สมคะเน วีระสมิทธิ์.(2544).”การวิเคราะห์สถานภาพของสหกรณ์กรการเกษตรไชยปราการโดยวิธีSWOT” การค้นคว้าแบบอิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมกรเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
7. สหัทยา วิเศษ.(2547). การจัดการลุ่มน้ำโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: เดือนตุลาคม.
8. สำนักฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่อนุรักษ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช. (2554). พื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทย.
9. อานันท์ กาญจนพันธ์.(2543). “พลวัตรของชุมชนในการจัดการทรัพยากร: กระบวนการทัศน์และนโยบาย” ในอานัน กาญจนพันธ์ (บก.) สถานการณ์การวิจัย ชุมชนกับการจัดการทรัพยากร:บทสังเคราะห์ผลของการศึกษา. หน้า 1-24, กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนและสนับสนุนการวิจัย.
10. อานันท์ กาญจนพันธ์.(2544). “มิติชุมชน:วิถีคิดท้องถิ่นว่าด้วย สิทธิ อำนาจ และการจัดการทรัพยากร” ในในอานัน กาญจนพันธ์ (บก.) สิทธิชุมชนในการพัฒนา.หน้า 232- 252, กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนและสนับสนุนการวิจัย.
11. อานันท์ กาญจนพันธ์.(2544ข). “มิติชุมชน:วิถีคิดท้องถิ่นว่าด้วย สิทธิ อำนาจ และการจัดการทรัพยากร” ในอานัน กาญจนพันธ์ (บก.) สิทธิชุมชนในการพัฒนา.หน้า 205- 230, กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนและสนับสนุนการวิจัย.
12. อุไรวรรณ สุภานิตย์. (2552). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน กรณีศึกษา วัฒนวิถีชุมชน “โหนด นา เล” อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา.วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ฉบับพิเศษการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5.
13. Hardin,G. (1968). The Tragedy of Common. Science. (162): 1243-1248.
14. Malthus, Thomas Robert.(1798). An Essay on the Principle of Population as it affects the Future Improvement of Society. London: St,Paul’s Churchyard.