การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยเพื่อส่งเสริมด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยในการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ในระดับครัวเรือนและชุมชน

Main Article Content

ปรียานารถ สดากร
วิสาขา ภู่จินดา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์หาอันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้นในการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ในระดับครัวเรือนและชุมชน และ 2) เสนอแนวปฏิบัติในการลดความเสี่ยงและอันตรายเพื่อส่งเสริมด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยในการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะอินทรีย์ในระดับครัวเรือนและชุมชน โดยใช้การสัมภาษณ์ร่วมกับการสังเกตการณ์ และการวิเคราะห์หาอันตรายโดยใช้ทฤษฎีการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (Job Safety Analysis) ผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมที่มีความเสี่ยงในระดับสูงและต้องมีแนวปฏิบัติเพื่อจัดการความเสี่ยงได้แก่ กิจกรรมการจัดเก็บก๊าซชีวภาพมีความเสี่ยงในการเกิดไฟไหม้หรือระเบิด การขาดอากาศจากในห้องเก็บก๊าซ กิจกรรมการเปิดวาล์วเก็บก๊าซมีความเสี่ยงจากกิจกรรมในการระเบิดจากการเปิดวาล์วก๊าซทิ้งไว้ กิจกรรมการเปิดก๊าซหุงต้มพบความเสี่ยงในการระเบิดจากการลืมปิดก๊าซหลังใช้ ผู้ปฏิบัติงานควรมีความรู้ความเข้าใจในการจัดเก็บก๊าซโดยควรตั้งไว้ห่างจากแหล่งไวไฟ การติดตั้งอุปกรณ์ระงับเหตุฉุกเฉิน การปิดวาล์วก๊าซทุกครั้งเมื่อเลิกใช้งานและมีการตรวจสอบรอยรั่วของวาล์วอย่างสม่ำเสมอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงพลังงาน. (2557). การผลิตก๊าซชีวภาพในรูปแบบต่างๆ. แหล่งที่มา: www.dede.go.th/download/files/AEDP2015_Final_version.pdf, 13 กันยายน 2561.
2. กระทรวงพลังงาน. (2558). แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ.2558-2579. แหล่งที่มา: www.dede.go.th/download/files/AEDP2015_Final_version.pdf.%0A, 10 กันยายน 2561.
3. กรมควบคุมมลพิษ. (2555). แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยในภาวะอุทกภัยสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.แหล่งที่มา: http://web.unep.org/ietc/sites/unep.org.ietc/files/3.pdf, 9 กันยายน 2561.
4. กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2553). คู่มือการปฏิบัติงานด้านการออกแบบ การผลิต การควบคุม คุณภาพ และการใช้ก๊าซชีวภาพ. พิมพ์ครั้งที่1. ม.ป.ท.
5. เกรียงไกร อายุวัฒน์. (2556). Case Study of Biogas Safety. แหล่งที่มา: http://php.diw.go.th/safety/wp-content/uploads/2015/02/2.biogas2.pdf, 4 กันยายน 2561.
6. ชววุฒิ ลาภมาก และ สุพรรณี ไชยอำพร. (2554). รูปแบบการจัดระบบความรู้และกระบวนการขับเคลื่อนความรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาชุมชนธรณีคำแขวงโคกแฝด เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 5(1), 59-66.
7. ทนงค์ ฉายาวัฒนะ. (2559). กรณีศึกษาการเกิดอุบัติเหตุจากก๊าซชีวภาพ. แหล่งที่มา: http://php.diw.go.th/safety/wpcontent/uploads/2015/02/2.biogas2.pdf, 20 มกราคม 2561.
8. ภูสิทธ์ ขันติกุล. (2553). การมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชนกับการพัฒนาชุมชน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 2(4), 41-48.
9. ศศิธร จิตต์ปราณี และ สหัถยา ลาดปาละ. (2552). การศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดการขยะอินทรีย์ในบริเวณมหาวิทยาลัยนเรศวรสำหรับผลิตก๊าซชีวภาพ. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง, 2(10), 37–43.
10.ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม. (2556). การศึกษากรณีศึกษาความปลอดภัยในการผลิตก๊าซชีวภาพในประเทศไทย. แหล่งที่มา: http://energy-safety.ete.eng.cmu.ac.th/biogas,30 สิงหาคม 2561.
11. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). อัตราการเจริญเติบโตของประชากรไทยแหล่งที่มา: http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsrbeta/th/BookReport.aspx Thailand, 17 กุมภาพันธ์ 2561.
12. ส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน. (2559). การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย. แหล่งที่มา: http://shawpat.or.th/index.php?option=com_content, 12 กันยายน 2561
13. สมจินตนา ลิ้มสุข ปุณยวี เพียรธรรม และ อนุรักษ์ ปีติรักษ์สกุล. (2554). การผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหารร่วมกับกลีเซอรีนดิบที่ได้จากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล. วารสารวิศวกรรมสาร มข, 38(2), 101–110.
14. Energy Technology for Environment ResearchCenter. (2013) Case Study of Biogas Safety in Thailand. Retrieved from http://energy-safety.ete.eng.cmu.ac.th/biogas/accident.php Siricharuenwong, A (2011) Job Safety Analysis Risk and Potential Hazard From Work place. Journal of Science and Technology of Huachiew Chalermprakiet University, 14(28), 233–245