การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับ การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 (Jigsaw II)

Main Article Content

สุรัชวดี สุภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 (Jigsaw II) และศึกษา  เจตคติที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านบึง (มนูญวิทยาคาร) จังหวัดชลบุรี ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 46 คน ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม โดยมีเครื่องมือในการศึกษาวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 4) แบบวัดเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 (Jigsaw II) สูงขึ้น และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 (Jigsaw II) สูงขึ้น แต่ไม่สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้โดยวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 (Jigsaw II)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
2. ณัฐกา นาเลื่อน. (2556). ผลการสอนโดยใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 7E ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ.
3. ณัฐชยา พอพิน. (2555). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ เรื่องการวิเคราะห์โวหารภาพพจน์ในเพลงไทยลูกทุ่ง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
4. ดวงจันทร์ วรคามิน, ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ และยศวีร์ สายฟ้า. (2559). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ การศึกษาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และการมีจิตสาธารณะ เพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นคนดีคนเก่งของนักเรียนไทย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
5. ไพศาล วรคำ. (2555). การวิจัยทางการศึกษา (Educational research) (พิมพ์ครั้งที่ 5). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
6. โรงเรียนบ้านบึง"มนูญวิทยาคาร". (2559). รายงานประจำปีของสถานศึกษา ปี 2559. เข้าถึงได้จากhttp://www.bbm.ac.th/data/sar59bbm.pdf. 2560.
7. วรรณพร ยิ้มฉาย. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยาและทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบน้ำเหลือง และระบบภูมิคุ้มกัน ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมเรียนรู้รูปแบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
8. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). FOCUS ประเด็นจาก PISA : การอ่านดิจิทัล: นักเรียนไทยพร้อมหรือยัง?. เข้าถึงได้จาก http://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2017-13. 2560.
9. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564).
10. อาริสา สุปน. (2557). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7E ที่มีต่อความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์เรื่องแสงและทัศนอุปกรณ์ ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนห้องสอนศึกษา จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
11. AliAkbar Shaikhi Fini, Eghbal Zarei, & Sardare, M. S. (2014). The Comparison between the Effect on Jigsaw 2 and Traditional Teaching Methods on Educational Achievement Academic. Journal of Psychological Studies, 3(1): 22-26.
12. Bloom, B. S. (1972). Taxonomy of educational objectives. New York: David McKay.
13. Dollard, M. W. & Mahoney, K. (2010). How Effective Is the Jigsaw Method when Used to Introduce New Science Curricula in Middle School Science. Ontario Action Researcher, 10(3).
14. Eilks, I. (2005). Experiences and Reflections about teaching atomic structure in a jigsaw classroom in lower secondary school chemistry lessons. Journal of Chemical Education, 82(2): 313-319.
15. Kisenkraft, A. (2003). Expanding the 5E Model : A proposed 7E model emphasizes transfer of learning and the importance of eliciting prior understanding. The science teachers, 70(6): 56-59.
16. Morvarid Bozorgpouri. (2016). The study of effectiveness of seven-step (7E) teaching method in the progress of english learning in students Shiraz city. The Turkish Online Journal of Design Art and Communication, July (Special Edition): 341-346.
17. Nur, H. A. (2016). Effect of the jigsaw-based cooperative learning method on student performance in the general certification of education advanced-level psychology : An Exploratory Brunei case study. International Education Studies, 9(1): 91-106.
18. Orhan, A., Nihal, D. B. and Nilay, K. S. (2006). The Effect of Cooperative Learning Strategies on 10th Grade Students’ Achievement on Nervous System. Eurasian Journal of Educational Research, 23: 1-9.
19. Sare, S., & Yasemin, K. (2012). Teaching the Subject "Sets" with the Dissociation and Re-Association (Jigsaw), International Online Journal of Educational Sciences, 4(1): 1-18.
20. Slavin, R. E. (1994). Cooperative learning. In Torsten Husin & T. Neville postlethwaite (Eds.), The international encyclopedia of education (2 ed., Vol. 1, pp. 1097). Oxford Elsevier Science.