ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าพักที่โฮมสเตย์ในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ: กรณีศึกษา โฮมสเตย์ในเขตพื้นที่ภาคใต้

Main Article Content

มนตรี เกิดมีมูล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าพักที่โฮมสเตย์ในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยใช้โฮมสเตย์ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ภาคใต้เป็นกรณีศึกษา การศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจด้วยตัวอย่าง กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป รวมจำนวนตัวอย่างในการศึกษาทั้งสิ้น 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวน  t-test และ F-test ที่ระดับนัยสำคัญ .05  ผลการศึกษาพบว่า  ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าพักที่โฮมสเตย์ของนักท่องเที่ยว ได้แก่  อาชีพ รายได้ ช่องทางการติดต่อเข้าพัก บุคคลที่เดินทางมาด้วย ช่องทางการรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับโฮมสเตย์ การส่งเสริมการตลาด บุคลากร และสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ผู้วิจัยเสนอให้ผู้ประกอบการธุรกิจโฮมสเตย์ควรปรับปรุงบริการบางด้านให้ดีขึ้น อาทิ เช่น สภาพบ้านพัก วิธีการติดต่อจองที่พัก การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโฮมสเตย์ การจัดให้มีโปรโมชั่นหรือแพคเก็จท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเกิดความสนใจที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวและเข้าพักที่โฮมสเตย์มากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. สถิตินักท่องเที่ยว. [Online]. เข้าถึงได้จาก www.tourism.go.th/home. 2558.

2. กรวรรณ สังขกร. (2555). ความรู้พื้นฐานและมาตรฐานการจัดการ Homestay. เอกสารประกอบการบรรยาย หลักสูตรอบรม “การจัดการที่พักแบบโฮมสเตย์ (Homestay)” คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

3. จุฑาภรณ์ ฮาร์ล และ ศศิธร ง้วนพันธ์. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ. 4 (กรกฎาคม – กันยายน ) : 415 – 426.

4. ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). การวางแผนและการจัดการนำเที่ยว. กรุงเทพมหานคร : วิรัตน์ เอ็ดดูเคชั่น.

5. ชูศักดิ์ ชูศรี. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในการเลือกใช้บริการที่พักแรมประเภทรีสอร์ทในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ใน บทความนำเสนอในการประชุมวิชาการ “พะเยาวิจัย ครั้งที่ 1”. มหาวิทยาลัยพะเยา.

6. ดวงสมร ส่องเมืองสุข. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาท่องเที่ยวเกาะสมุยของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

7. ตฤณ พริ้งประเสริฐ, พิทักษ์ ศิริวงศ์, ประสพชัย ประสพชัย พสุนนท์. (2554). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้บริการที่พักแบบเกสต์เฮาส์บริเวณถนนข้าวสาร. วารสารวิจัย มข. (บศ.). 11 (กรกฎาคม–กันยายน) : 121 – 130.

8. ทัศวารินทร์ วุฒิสารวราภรณ์, สุรัติ สุพิชญางกูร, สาวิตรี บิณฑสันต์. (2554). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจ ค่านิยมในการดำเนินชีวิต การรับรู้ข่าวสาร และการตัดสินใจเดินทางของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์. 5 (เมษายน) : 2 - 18.

9. นาตยา เจริญผล. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. รายงานค้นคว้าอิสระ หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

10. บุญส่ง นับทอง. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ในอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

11. วรากร คำปลิว, บังอร ฉัตรรุ่งเรือง, ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวแบบผจญภัยของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารพิฆเนศวร์สาร. 12 (กรกฎาคม – ธันวาคม ) : 139 – 148.

12. ศศิโสม ดวงรักษา. (2558). เปรียบเทียบปัจจัยและพฤติกรรมที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงแรมระดับ 4 – 5 ดาวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. รายงานค้นคว้าอิสระ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

13. สกุล จริยาแจ่มสิทธิ์ และ ประสพชัย พสุนนท์. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 10 (มกราคม – มิถุนายน) : 105 – 114.

14. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2557). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

15. แสงเดือน รตินธร . (2555). ปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดที่มีผลต่อนักท่องเที่ยวชาวจีนในการตัดสินใจเลือกมาท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 18 (พฤษภาคม) : 84 – 104.

16. อรุณี ลอมเศรษฐี. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการเลือกใช้บริการที่พักในเขตกรุงเทพมหานคร. รายงานค้นคว้าอิสระ หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกธุรกิจระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี.

17. อัญญพัชร โชติวชิระพงศ์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกมาท่องเที่ยวในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวอเมริกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

18. อธิชา อัยยะศิริ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์ในอำเภอเกาะ สมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. งานนิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก มหาวิทยาลัยบูรพา.

19. Yamane, Taro. (1973). An Introductory Analysis. New York : Harper and Row.