การวิจัยเส้นใยจากกาบหมากเพื่อพัฒนาเป็นเคหะสิ่งทอ

Main Article Content

นาวี เปลี่ยวจิตร์

บทคัดย่อ

การพัฒนาเส้นใยกาบหมากให้เป็นผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอเพื่อสร้างทางเลือกใหม่ให้กับกลุ่มผู้บริโภค โดยผู้วิจัยจะทดลองนำองค์ความรู้ในการแปรรูปเส้นใยพืชและการขึ้นรูปสิ่งทอ  มาพัฒนาให้เกิดเป็นนวัตกรรมเส้นใยจากกาบหมากที่สามารถสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหมากและกลุ่มผู้ประกอบการเคหะสิ่งทอ มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาและทดสอบคุณสมบัติและข้อจำกัดของเส้นใยจากกาบหมาก, ทดลองการผลิตต้นแบบเคหะสิ่งทอเส้นใยกาบหมาก, เพื่อหาแนวทางการพัฒนากระบวนการผลิต, เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในพัฒนาเคหะเส้นใยกาบหมากให้กับผู้ประกอบการที่สนใจ ซึ่งมีวิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพัฒนาและทดลองการพัฒนาทดลอง (Experimental-Development Reseach) มีประชากรคือ กลุ่มผู้ประกอบการหัตถกรรม ระยอง จันทบุรี ตราด และกลุ่มผู้ผลิตเส้นใยปอในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผู้ประกอบการ ระยอง จันทบุรี และตราด จำนวน 40 คน โดยใช้การสุ่มแบบเจาะจง โดยมีเครื่องมือวิจัยเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกและการทำแบบสอบถาม กลุ่มผู้ผลิตเส้นใยปอในจังหวัดอุบลราชธานีจำนวน 2 กลุ่ม โดยใช้การสุ่มแบบเจาะจง มีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ,ความพึงพอใจ และข้อมูลเชิงปริมาณโดยหลักสถิติ 


ผลการวิจัย พบว่า ในด้านการพัฒนาเป็นสิ่งทอสิ่งทอควรประยุกต์และพัฒนาจากลายเก่า ๆ ที่มีความเรียบง่ายแต่ดูหรูหราหรือมีเอกลักษณ์เฉพาะของท้องถิ่น โดยเฉพาะลายจากสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ซึ่งจะทำให้เกิดจุดเด่นที่แตกต่างจากการทอที่อื่นๆ ในการผลิตควรเน้นความสวยงามและความละเอียดปราณีตจากฝีมือในการทอ  เพื่อเป็นการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้แก่ชิ้นงาน ได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ มีการประเมินความพึงพอใจ ของกลุ่มตัวอย่าง ต่อต้นแบบที่ผลิต ด้านรูปแบบและการใช้งานด้วยวิธีการประเมินตามเกณฑ์ โดยตั้งสมมุติฐานการทดสอบคะแนนเต็ม 5.00 โดยตั้งเกณฑ์ผ่านไว้ที่ 3.50 คะแนน ซึ่งผลสรุปการประเมิน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจภาพรวมอยู่ที่ 3.92 ซึ่งหมายความว่าความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง อยู่ในระดับที่พึงพอใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. จรรยาวรรณ จรรยาธรรม และประทับใจ สิกขา. (2555). การพัฒนาเส้นใยของต้นจากเพื่อใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ . พิษณุโลก: ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร.
2. พัฒนะ แก้วสว่าง. การศึกษาความเป็นไปได้ในการแยกเส้นใยจากกาบหมากนวล. (Online).https://www.vetiver.org/ICV6_PROC/SOCIO%20ECONOMIC/8%20%20S%20Keunun%20Paper.pdf. 2545.
3. ผู้จัดการออนไลน์. ความต้องการบริโภคสิ่งทอจากเส้นใยธรรมชาติที่มากขึ้นของประชากรโลก (Online).https://mgronline.com. 2557.