กลยุทธ์การพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูเพื่อส่งเสริมความเป็นครูวิชาชีพของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Main Article Content

สจีวรรณ ทรรพวสุ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาจิตวิญญาณความเป็นครูของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูวิชาชีพ 3) เพื่อเสนอกลยุทธ์การพัฒนาจิตวิญญาณ ความเป็นครูเพื่อส่งเสริมความเป็นครูวิชาชีพ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 175 คน จากการสัมภาษณ์ผู้บริหาร ครูต้นแบบ หรือครูดีเด่น และอาจารย์คณะครุศาสตร์ จำนวน 8 คน สนทนากลุ่ม จำนวน 14 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 15 คนด้วยวิธีการศึกษาจิตวิญญาณความเป็นครูและแนวทางการพัฒนา วิเคราะห์สภาพ แวดล้อม กำหนดกลยุทธ์ และประเมินกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีจิตวิญญาณความเป็นครูโดยภาพรวม และรายด้านอยู่ใน ระดับมาก ส่วนแนวทางการพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูควรปลูกฝังจิตสำนึกความเป็นครูอันดับแรก เน้นการสร้าง ความรู้ผ่านการปฏิบัติที่สอดคล้องกับทักษะศตวรรษที่ 21 และความเป็นครูวิชาชีพที่มีพลวัตเท่าทันการเปลี่ยนแปลงศาสตร์ ติดตามความก้าวหน้าวิชาชีพครูโดยมีกลยุทธ์การพัฒนาจิตวิญญาณความเป็นครูเพื่อส่งเสริมความเป็นครูวิชาชีพ ประกอบด้วยกลยุทธ์หลัก 4 กลยุทธ์ และกลยุทธ์รอง 12 กลยุทธ์

 

Strategies for Developing Teacher Spirituality to Enhance Professional Teacher of Students in Faculty of Education, Suan Sunandha Rajabhat University

The purposes of the research were are 1) to study the teacher spirituality of students in Faculty of Education, Suan Sunandha Rajabhat University; 2) to explore the guidelines for developing professional teacher spirituality of students; and 3) to propose the strategies for developing teacher spirituality to enhance teaching professionalism. Data was collected from 4 sample groups: 175 students participating in the practice teaching course; 8 teachers, including administrators, model teachers or excellent teachers, and faculty members in the faculty of education, during the interview; 14 teachers in the group discussion; and15 experts. The study included exploring the teacher spirituality as well as the guidelines for development, analyzing the environments, and formulating and evaluating the strategies. Statistical tools including percentage, mean, and standard deviation analyzed data, whereas content analysis was conducted for qualitative data. The research results reveal that teacher spirituality earned by students at both total perspective and item levels are high. In terms of guidelines for developing teacher spirituality, it is suggested that awareness of being teachers should be raised as a priority. An emphasis should be placed on the knowledge construction through practices relevant to the 21st century skills and teaching professionalism in line with dynamically changing body of knowledge. In addition, monitoring the progress of teaching profession and implementing strategies for developing teacher spirituality, which include 4 main strategies and 12 sub-strategies, should be concerned. Keywords : Development strategies teacher spirituality Professional teacher.

Article Details

Section
Articles