การพัฒนาตู้แสดงผลงานจากเทคนิคลายรดนํ้า

Main Article Content

อมรรัตน์ อนันต์วราพงษ์
พีรพงษ์ หนูแดง
คฑา ม่วงเทศ
ขวัญณัฐ ดวงสุวร
รัตนากร ลี้เกื้อกูล

Abstract

งานวิจัยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตู้แสดงผลงานจากเทคนิคลายรดนํ้า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่นิยมของผู้บริโภค และเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ตู้แสดงผลงานจากเทคนิคลายรดนํ้าผลการศึกษาความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ตู้แสดงผลงานกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคในพื้นที่ตลาดนัดจตุจักร กรุงเทพฯ จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจ พบว่า ด้านสถานที่ตั้งผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคต้องการสถานที่ตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์มากที่สุด (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.28) ด้านความเหมาะสมของรูปทรง ผู้บริโภคต้องการทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้งมากที่สุด (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.48) ด้านการออกแบบลวดลาย ผู้บริโภคต้องการลายไทยโบราณมากที่สุด (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.56) ด้านการใช้สีพื้นหลัง ผู้บริโภคต้องการเป็นสีดำมากที่สุด (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.44) ด้านวัสดุที่ใช้ในการผลิต ผู้บริโภคต้องการใช้ไม้สักทองมากที่สุด (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.58) ด้านการผลิต ผู้บริโภคต้องการวัสดุที่ใช้มีความแข็งแรงทนทานมากที่สุด (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.88) ด้านความสะดวกสบายในการใช้งานผู้บริโภคต้องการมีบานประตูเปิด-ปิดได้มากที่สุด (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.80) และ ด้านหน้าที่ใช้สอย ผู้บริโภคต้องการตู้แสดงผลงานที่มีความแข็งแรงทนทานมากที่สุด (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.86)

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตู้แสดงผลงานจากเทคนิคลายรดนํ้า ทำการสร้างภาพร่าง 3 มิติตู้แสดงผลงาน 5 รูปแบบทำการประเมินเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตและการออกแบบผลิตภัณฑ์จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกโดยใช้คำถามปลายเปิด ผู้เชี่ยวชาญได้เลือกภาพร่าง 3 มิติตู้แสดงผลงานรูปแบบที่ 1 เนื่องจากมีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ตู้แสดงผลงานจากเทคนิคลายรดนั้าต้นแบบมากที่สุด

สร้างผลิตภัณฑ์ตู้แสดงผลงานจากเทคนิคลายรดนํ้าต้นแบบนำมาประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่มีความสนใจผลิตภัณฑ์ตู้แสดงผลงาน จำนวน 50 คน ในพื้นที่สวนจตุจักร กรุงเทพฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจพบว่า ด้านความสวยงาม ผู้บริโภคมีความพึงพอใจความประณีตเรียบร้อยของผลิตภัณฑ์มากที่สุด (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.72) ด้านสถานที่ตั้งของผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคมีความพึงพอใจที่จะตั้งในพิพิธภัณฑ์มากที่สุด (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.14) ด้านการออกแบบ ผู้บริโภคมีความพึงพอใจผลิตภัณฑ์ที่มีความร่วมสมัยไทยโบราณกับสไตล์โมเดิร์นมากที่สุด (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.66) ด้านประโยชน์ใช้สอย ผู้บริโภคมีความพึงพอใจด้านมีความแข็งแรงทนทานและมีความปลอดภัยในการใช้งานมากที่สุด (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.60) และ ด้านราคา ผู้บริโภคเห็นสมควรที่จะขายในราคา 31,000 - 33,000 บาท มากที่สุด

 

Development of Showcase Using Gilded Black Lacquer Technique

This study aimed to 1) to study the customer demand on the showcase using gilded black lacquer or “Lai Rod Nam” technique, 2) to develop the contemporary showcase that answer the customers demand, and 3) evaluate the customers satisfaction on the showcase. The participants were the 50 consumers at Chatuchak market, Bangkok. The customers demand was observed. The data collection tool was the questionnaire. The customers suggest that the showcase should be placed in the museum (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.28). The showcase should be cuboid rectangular shape (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.48). The ancient Thai painting or “Lai Thai” pattern is the most preferable of showcase tracery (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.56). The color of the showcase should be black (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.44). The material should be teakwood (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.58). Through the production, the durable material should be used (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.88). The door should available in the showcase (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.80). The customers prefer the durable showcase (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.86)

The five patterns of three dimensions (3D) showcase pattern were designed. The patterns was evaluated and selected by five specialists who become experts in manufacturing and product design. Data collection tool was the interviewing form. In-depth interview was performed with open-ended questions. The results showed that the suitable pattern for the showcase using gilded black lacquer technique was the pattern number one.

The showcase prototype was built and used as the model to evaluate the customers’ satisfaction. The participants were 50 customers at Chatuchak market who are interested in the showcase. The data collection tool was the satisfaction questionnaire. The results showed that the appearance, the customers satisfied the exquisite and the neat of the product (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.72). The showcase should be placed in the museum (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.14). The showcase design, the customers satisfied the product which integrates between ancient Thai and modern style (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.66). The usefulness, the durable and safety of the product gained the customer satisfaction (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.60). The customers suggested that the price of the product should be 31,000-33,000 Baht.

Article Details

Section
Articles