ความเสมอภาคและโอกาสการเรียนรู้ตลอดชีวิต สู่การสร้างคุณภาพชีวิต

Main Article Content

สมจิต แดนสีแก้ว
ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ
สมคิด ทับทิม
ศิวานนท์ รัตนะกนกชัย

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการสังเคราะห์งานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในปีงบประมาณ 2558 จำนวน 3 โครงการ เพื่อหาวิธีจัดการที่เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประชากรไทย 3 โครงการวิจัย ใน 3กลุ่มวัย ได้แก่ 1) กลุ่มเยาวชน เรื่อง “อนาคตภาพของการจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนในศูนย์เยาวชน เขตพัฒนาพื้นที่พิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้” 2) วัยผู้ใหญ่ในกลุ่มสตรีเรื่อง “แนวทางการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิต ของกลุ่มสตรีกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ตามหลักธรรมาภิบาล ในจังหวัดขอนแก่น” และ 3) วัยผู้สูงอายุจากทุกภูมิภาค เรื่อง “ทิศทางและการพัฒนานโยบายการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย” โดยศึกษาข้อมูลจาก 3 รายงานวิจัย ประกอบกับข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการออกติดตามการทำวิจัย การสังเกตและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้วิจัยโครงการๆละ 2 ครั้งรวม 18 คนและมีการจัดประชุมร่วมทั้ง 3 โครงการ 1 ครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นและร่วมสังเคราะห์ผลการวิจัยกับผู้วิจัย

ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 กลุ่มวัยมีความหวังและมีความพอใจที่ได้รับการตอบสนองสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต อย่างไรก็ตามทุกกลุ่มพบสถานการณ์ความไม่เท่าเทียมทางการศึกษา เนื่องจากระบบการจัดการศึกษาในโรงเรียน นอกโรงเรียนและสถาบันระดับอุดมศึกษายังไม่เชื่อมต่อและไม่ประสานกับระบบชุมชน ทำให้เกิดความไม่เสมอภาคในการเรียน เข้าไม่ถึง ตามบริบทของกลุ่ม พื้นที่อาศัยและสังคมแวดล้อม มีคนชายขอบ ไม่ถูกใช้ประโยชน์ และเกิดองค์กร และชุมชนที่อ่อนแอ เหนือสิ่งอื่นใดทั้ง 3 โครงการวิจัยยืนยันว่า กลุ่มเป้าหมายต้องการการจัดสรรงบประมาณที่เป็นธรรม และครูจบวิชาเฉพาะที่สามารถสอนให้นักเรียนการศึกษานอกโรงเรียนเก่งเท่าการเรียนในระบบปกติ ทั้งกลุ่มเยาวชนสตรีและผู้สูงอายุต้องการเชื่อมโยงการศึกษานอกระบบและในระบบให้เกื้อหนุนกันจนเกิดการรองรับหน่วยการเรียนต่อเนื่อง และได้วุฒิการศึกษาที่ดีขึ้นเพื่อได้โอกาสในการทำงาน มีรายได้ มีครอบครัวมั่นคง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีโอกาสเป็นผู้นำทางศาสนา เป็นนักการเมืองท้องถิ่น เป็นนักจัดการธุรกิจชุมชนพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรมพื้นบ้านให้เป็นการค้าและบริการที่มีมาตรฐานระดับอาเซียนและสากล

 

Equality and Opportunity for Lifelong Learning to Improve Quality of Life

This study was a researchsynthesis of three research projects funded by The Thailand Research Fund (TRF) in fiscal year 2014 within the framework of opportunity for lifelong learning. All of the research aimed to create the strategies and the best practice how to improve lifelong learning for 3 groups; 1) “Scenario of Lifelong Education Management to Develop the Quality of Life of Youth in Special Administration Zone in Southern Border”,2) “Guidelines to Develop Lifelong Learning in Line with Good Governance Principles for Projects of Women Groups Supported by the Fund for Development of Women’s Roles”, and 3) “Trends and Development in Lifelong Learning Policy for the Elderly People in Thailand”. The data was collected by reviewing 3 research reports, triangulated by the qualitative datathat collected during two times in the field visit of each project by observation, in-depth interviewamong 18 staekeholders and group dialogue with the researchers of three projects.

Three groups found anineffective situation of lifelong learning; 1) marginalization caused by inaccessibility of local non-formal education, 2) disadvantaged groups, and 3) weaker sector. These results were confirmed that the stakeholders need to receive more budgets, the good collaboration of formal education from local school and non-formal education to create the effective learning process, link formal education system and continuing education in order to have a better chance of working and also improve their living status,raise up their quality of lives. Moreover, they also wanted to be religious leaders, local administrative committees, local business managers with international standards and ASEAN further.

Article Details

Section
Articles