การจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาพื้นที่ ด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วม

Main Article Content

ชคัตตรัย รยะสวัสดิ์

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของทรัพัยากรธรรมชาติในพื้นที่ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา และเพื่อสร้างกระบวนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วมกับภาคีในพื้นที่ ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่าทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่โดยภาพรวมมีศักยภาพอยู่ในระดับมาก (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.79 และ S.D. = 0.95) แบ่งเป็นทรัพยากรดิน มีศักยภาพในระดับมาก (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.81 และ S.D. = 0.94) ทรัพยากรนํ้า มีศักยภาพในระดับมาก (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.85 และ S.D. = 0.93) และทรัพยากรป่าไม้ มีศักยภาพในระดับมาก (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.72 และ S.D. = 0.99) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านทั้งในส่วนด้านลักษณะของปัจจัยการผลิตด้านกระบวนการจัดการและด้านการนำผลผลิตไปใช้ประโยชน์พบว่าทรัพยากรดิน นํ้า และป่าไม้ มีศักยภาพอยู่ในระดับมากเช่นกันในส่วนของกระบวนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วมกับภาคีในพื้นที่ตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมานั้น พบว่า มีขั้นตอนในการดำเนินงาน จำนวน 8 ขั้นตอน คือการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ การจัดเวทีประชุมการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้นำชุมชน การจัดหาเอกสารเผยแพร่การเผยแพร่แผนที่ทรัพยากรธรรมชาติ การจัดทำกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และการติดตามความก้าวหน้าการนำกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ประโยชน์


The Natural Resources Management to Develop Area by Participatory Process

The research had been conducted to explore the natural resources’ potentials in the area of Maklueamai, Sung Noen, Nakhon Ratchasima province and to establish the natural resources management processes by using participatory processes coordinating with parties or participants. Qualitative and quantitative analysis were employed in this research. Generally, the study showed that natural resources were potentially available at high level (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.79, S.D. = 0.95): in each item, soil resources were reported at high level (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.81, S.D. = 0.94), water resources were reported at high level (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.85, S.D. = 0.93) and forest resources were also reported at high level (\inline \dpi{80} \bar{X} = 3.72, S.D. = 0.99). When considering the issues related to factors of production, management processes and the utilization of the products, it showed that natural resources; soil, water and forest resources were potentially reported at high level. In terms of natural resources management processes to develop Maklueamai by participatory process, it was revealed that there were altogether 8 phases including; survey of natural resources in particular area, conferences setting, body of knowledge delivering, knowledge sharing among community leaders, brochure distribution, natural resources map distribution, forming of natural resources management strategies and following up processes related to management strategies implementation.

Article Details

Section
Articles