การศึกษาความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับผังกราฟิก

Main Article Content

พระชัษษพณขิ์ สุรปญฺโญ (จันวงค์เดือน)
สมบูรณ์ ตันยะ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับผังกราฟิก 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับผังกราฟิก 3) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับผังกราฟิกกับเกณฑ์ร้อยละ 70

กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านระกาย ตำบลจอหอ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (\inline \dpi{80} \bar{X}) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบที (t-test)

ผลการศึกษา พบว่า

1. ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับผังกราฟิก ก่อนเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 10.40 คิดเป็นร้อยละ 52.00 หลังเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 15.87 คิดเป็นร้อยละ 79.38 และค่าความก้าวหน้า 5.46 คิดเป็นร้อยละ 27.30 ส่วนความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ ก่อนเรียนได้คะแนน เฉลี่ย 8.98 คิดเป็นร้อยละ 37.42 หลังเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 18.61 คิดเป็นร้อยละ 75.00 ค่าความก้าวหน้า 9.36 คิดเป็นร้อยละ 39.00

2. ความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับผังกราฟิก หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการ เรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับผังกราฟิก หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

A Study on English Reading and Writing Abilities of Prathomsuksa 5 Students through the SQ4R Method and Graphic Organizers

The purposes of this research were 1) to study the English reading and writing abilities, 2) to compare the English reading and writing abilities of Prathomsuksa 5 students through the SQ4R method and graphic organizers and 3) to compare the English reading and writing abilities of Prathomsuksa 5 students with graphic organizers after the class with the standard 70 percent of students’ performance. The samples were 22 students studying in Ban Rakay School, Joho sub district, Mueang District, Nakhon Ratchasima Education Service Area 1. The research instruments consisted of lesson plans and English reading and writing ability tests. The data was analyzed by a mean (\inline \dpi{80} \bar{X}), percentage, standard deviation, (S.D.) and t-test.

The conclusion of the study was as follows;

1. It showed that the students had the average score of 10.40or 52.00 %before learning and the average score of 15.87or 79.38%after learning. The students’ overall ability in using English was improved 5.46or 27.30%, the mean of ability in reading before learning was at8.98or 37.42%, and after learning was at18.61or 75.00%.This9.36 improvement was or 39.00%

2. It was higher comparing with before using them with statistical significance at .05.

3. It was higher than the one set by the 70 % criterion with statistical significance at .05.

Article Details

Section
Articles