การรับรู้และความต้องการข่าวสารประชาสัมพันธ์ : กรณีศึกษา อบต. มะเกลือใหม่ ต.มะเกลือใหม่ อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา

Main Article Content

นันทพร อดิเรกโชติกุล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ข่าวสารประชาสัมพันธ์ เพื่อศึกษาความต้องการข่าวสารประชาสัมพันธ์ อบต. มะเกลือใหม่ ในด้านเนื้อหาข่าวสารและรูปแบบของสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อศึกษาปัญหาในการเผยแพร่ข่าวสารประชาสัมพันธ์ของ อบต.มะเกลือใหม่ และเพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์ของ อบต. มะเกลือใหม่ การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง 430 คน ประกอบด้วยบุคลากรของ อบต.จำนวน

3 คน และประชาชนในพื้นที่ อบต.มะเกลือใหม่จำนวน 427คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ดำเนินการเก็บข้อมูล โดยให้นักศึกษาโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ที่ศึกษารายวิชาวิจัยนิเทศศาสตร์เป็นผู้ช่วยในการวิจัยการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแบบพรรณนา และสถิติเชิงพรรณนาด้วยการแจกแจงความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (\dpi{80} \bar{X}) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ซึ่งประมวลผลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

ผลการวิจัย พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นเพศหญิง (54.8%) อายุ 50-59 ปี (28.3%) การศึกษาระดับประถมศึกษา (48.5%) อาชีพเกษตรกร (34.2%) และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท (41%) ด้านการรับรู้ข่าวสารประชาสัมพันธ์ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการรับรู้จากเสียงตามสายมากที่สุด (84.8%) รองลงมา คือ ผู้นำชุมชน (70.7%) โดยมีการรับรู้จากเสียงตามสายมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (\dpi{80} \bar{X}=3.13, S.D.=1.29) ด้านความต้องการเนื้อหาข่าวสารประชาสัมพันธ์ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง โดยเนื้อหาด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (\dpi{80} \bar{X}=3.74, S.D.=1.03) สำหรับความต้องการด้านรูปแบบของสื่อประขาสัมพันธ์ พบว่า ต้องการให้เผยแพร่ข่าวสารด้วยเสียงตามสายมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (\dpi{80} \bar{X}=4.43, S.D.=0.78) ด้านปัญหาในการเผยแพร่ข่าวสารประชาสัมพันธ์ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง โดยพบปัญหาความทั่วถึงของข่าวสารและความเพียงพอของจุดให้บริการข่าวสารมีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากัน (\dpi{80} \bar{X}=3.34, S.D.=1.08) สภาพการดำเนินงานด้านการประชาสัมพันธ์ของ อบต.มะเกลือใหม่ ยังขาดการวางแผนด้านการประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ยังขาดความเข้าใจด้านการประชาสัมพันธ์และทักษะด้านการสื่อสาร สื่อประชาสัมพันธ์ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ และขาดการประเมินผล

 

The Perceptions of Public Relations : A Case Study of Makluea Mai Tambol Administrative Organization, Sungnoen, Nakhon Ratchasima

This research aimed 1) to determine the operating conditions of public relation of Tambol Administrative Organization (TAO) in Makluea Mai, and 2) to study the perceptions of public relations, the requirements of public relations in details forthe media content and format, and the issues on the dissemination of Makluea Mai Tao’s news. The qualitative and quantitative methods were used in this study. A sample of 430 people; 3 were administrator officers and 427 were TAO residences. Semi-structured interviews and questionnaires were used to collect data. It was conducted by students in Communication Arts Program and analyzed descriptively and statistically by using frequency distribution, percentage, mean and standard deviation. Moreover, the computer application was also used in data processing. The study found that most of the questionnaire respondents was female (54.8%) whose ages are between 50-59 years old (28.3%), graduated from primary level (48.5%) and they were farmers (34.2%) which the income monthly between 5001-10,000 baht (41%). Residents mostly receive TAO news from the broadcasting tower’s (84.8%) followed by the community’s leader (70.7%). It was also reported that receiving news from broadcasting tower’s showed the highest average at \dpi{80} \bar{X}=3.13, S.D.=1.29. The TAO news demanding contents was in moderate level. The assurance and safety of life and property was in high average at \dpi{80} \bar{X} = 3.74, S.D.= 1.03 and found that questionnaire respondents’ need in the advertised information by broadcasting tower’s at \dpi{80} \bar{X} = 4.43, S.D.=0.78. Most of problems in publicizing of public relations issue was found in moderate level found thoroughly in the same high average level at \dpi{80} \bar{X} = 3.34, S.D. = 1.08. The public relations operating condition was lack of efficiency Public Relations planning, TAO, the officers are lack of understanding of public relations and communication skills. Public relations media did not cover the area and also lack of evaluation.

Article Details

Section
Articles