รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำทีมของผู้บริหาร โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

กฤษณา พงษ์วาปี
บรรจบ บุญจันทร์
กิติพงษ์ ลือนาม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมภาวะผู้นำทีมที่พึงประสงค์ พฤติกรรมภาวะผู้นำทีม สร้างรูปแบบพฤติกรรมภาวะผู้นำทีม และเพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรยีนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในจังหวัดนครราชสีมา การวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 245 คน เครื่องมือที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมภาวะผู้นำทีมที่พึงประสงค์มี 6 ด้าน พฤติกรรมภาวะผู้นำทีมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และองค์ประกอบภาวะผู้นำทีมมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำทีมมี 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คือ แนวทางการดำเนินการพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำทีมส่วนที่ 2 คือ กระบวนการพัฒนา รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำทีมของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในจังหวัดนครราชสีมา มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด


A Development Model of Team Leadership Behavior of the Small Primary School Administrators in Nakhon Ratchasima

The objectives of this research was 1) to study desired team leadership behavior, 2) to study team leadership behavior, 3) to build development model of team leadership behavior and 4) to evaluate the development model of team leadership behavior of the small primary school administrators in Nakhon Ratchasima. The research procedure divided into 4 steps. The samples were 245 of the small primary school administrators in Nakhon Ratchasima. The instruments were the structured interview form and questionnaire. Data were analyzed by factor analysis, mean and standard deviation. The salient point found that the desired team leadership behavior consisted of 6 domains. The team leadership behavior as whole and each dimension was at a high level. The factor of team leadership behavior shows the consistent with empirical data. Making development model was divided into two parts; Part I: guideline for developing team leadership behaviors and Part II: development process. The evaluation of the development model has the suitability between high to highest and the feasibility is also at the same level.

Article Details

Section
Articles