การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ภูมิปัญญาและการปรับตัวรับมือน้ำหลาก จังหวัดพระนครศรีอยุธย

Main Article Content

เด่นเดือน เลิศทยากุล

Abstract

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ภูมิปัญญาและการปรับตัวรับมือน้ำหลาก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อประเมินความสามารถในการใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อประเมินความพึงพอใจในการรับรู้เนื้อหาของผู้ใช้งานหนังสือิเล็กทรอนิกส์ ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากผู้ที่เคยประสบปัญหาน้ำท่วมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสามารถเข้าถึงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จำนวน 50 คน โดยเนื้อหาในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มี 3 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไป แบ่งเป็น พระนครศรีอยุธยา กับนิเวศวิทยาแบบที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง และวิถีชีวิตริมคลองบางพระครู: แหล่งภูมิปัญญาในการปรับตัวอยู่กับน้ำ 2) การเตรียมรับมือและปรับตัวในช่วงฤดูน้ำหลาก แบ่งเป็น ระยะที่ 1 ช่วงน้ำมาปลากินมด ระยะที่ 2 ช่วงน้ำขึ้นให้รีบตัก ระยะที่ 3 ช่วงน้ำลดตอผุด และ 3) บทส่งท้าย และวิธีการทำแพปลูกผัก เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบบประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบบประเมินความสามารถในการใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และแบบประเมินความพึงพอใจในการรับรู้เนื้อหาจากผู้ใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์แบบประเมิน

ผลการประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยเฉลี่ยเท่ากับ 4.11 อยู่ในระดับมาก ผลการประเมินด้านความสามารถในการใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยเฉลี่ยเท่ากับ 4.08 อยู่ในระดับมาก และผลการประเมินด้านความพึงพอใจในการรับรู้เนื้อหาจากผู้ใช้งานหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยเฉลี่ยเท่ากับ 4.11 อยู่ในระดับมาก


The Development of E-book for the Wisdom and the Adaptation on a Flooding Crisis in Phranakhon Si Ayutthaya

The research aims to develop an electronic book or E-book on the wisdom and the adaptation of local people during a flood in Phranakhon Si Ayutthaya. The purposes also included to evaluate a quality, a satisfaction and usability on a content perceptionof E-book. The data has been collected a sampling grouppurposivelyof 50 people who suffered from recent floods in Phranakhon Si Ayutthaya area and can reach on E-book.. The E-book content has 3 sections; 1)the general information that describes on background and ecologyof Phranakhon Si Ayutthaya. The way of life along Bang Phrakroo canal was also describedas the wisdom source for adaptation on living with a flood, 2) a preparation and an adaptation of local people during a flood. There are divided by 3 phases of flood’s time; early flood, rising flood and the end of flood, and 3) a conclusion and a method of planting vegetables in water.

The tools of analysis are the E-book, an evaluation form of the E-book’squality, an evaluation form of the E-book’s using and a satisfaction form of theE-book users’content perception. The initial result is analyzed by descriptive statistics including to frequency, percentage, average and standard deviation.

The result shows that the average of the E-book’s quality at 4.11 point, the average of the ability of the E-book using at 4.08 point, the average of the satisfaction on the content perception at 4.11 which their means are athigh quality of the E-book users is 4.11, which means as much satisfaction.

Article Details

Section
Articles