กระบวนท่ารำในเพลงโคราช

Main Article Content

รัตติกร ศรีชัยชนะ
สุภาวดี โพธิเวชกุล

Abstract

การวิจัย เรื่อง กระบวนท่ารำในเพลงโคราช มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติ องค์ประกอบการแสดงและขั้นตอนการแสดง 2) กระบวนท่ารำในเพลงโคราช และ 3) แนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมเพลงโคราชในปัจจุบัน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ศึกษาจากศิลปินอาวุโสที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและมีบทบาทในการแสดงเพลงโคราชในปัจจุบัน

ผลการวิจัย พบว่า เพลงโคราช เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของจังหวัดนครราชสีมาที่มีรูปแบบการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะในด้านการใช้ภาษา ปัจจุบันรูปแบบการแสดงเพลงโคราชแบบดั้งเดิมเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย และความต้องการของผู้ชม นอกจากศิลปะของการร้องแล้วเพลงโคราชยังมีศิลปะของการร่ายรำประกอบการแสดงอีกด้วยการใช้ท่ารำประกอบการแสดงเพลงโคราช พบว่า มี 7 ท่า แบ่งออกเป็นท่ารำหลักมีทั้งหมด 4 ท่า ได้แก่ ท่าช้างเทียมแม่ท่าจ๊ก ท่าย่อง ท่าปลาไหลพันพวง ท่ารำรับระหว่างร้อง มีจำนวน 3 ท่า ได้แก่ ท่าปักหลัก ท่าประจัญบานและท่าย่างสามขุม นอกเหนือจากท่ารำหลักและท่ารำรับระหว่างร้องแล้วยังมีท่ารำตีบทและการเคลื่อนที่ประกอบอยู่ในกระบวนท่ารำเพลงโคราช ปัจจุบันได้มีการสนับสนุน และอนุรักษ์ส่งเสริมการแสดงเพลงโคราชมากขึ้น ทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชน โดยการจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการเผยแพร่การแสดงเพลงโคราชหรือแม้แต่ตัวศิลปินเอง ก็ได้เข้าไปมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการเผยแพร่เพลงโคราชโดยการเข้าไปสอนและให้ความรู้แก่เยาวชนรุ่นใหม่ทั้งนี้เพื่อการดำรงอยู่ของศิลปะการแสดงเพลงโคราชให้คงอยู่คู่กับจังหวัดนครราชสีมาสืบไป


Dance Pattern in Pleng Korat

This thesis, Dance Pattern in Pleng Korat, has been conducted in order to study history, composition, process and pattern in Pleng Korat, and how to conserve and promote Pleng Korat in the present day. This research data has been gathered through paper work, interview and observation. The research data collection and analysis is also presented

The thesis analysis has found that Pleng Korat is the local performance of Nakhon Ratchasima province which has its own unique performance and language. Nowadays, the original performance of Pleng Korat has begun to change due to the changing times and the needs of the audience. Besides the art of singing, there is the art of dancing during the performance as well. It has been shown that, now, there are 7 dance patterns in Pleng Korat , which are divided into 4 main dance patterns; Taa Chang Tiem Mae, Taa Joge, Taa Yong and Taa Plaa Lai phan Phuang, and 3 receiving role dance patterns; Taa Pak Lak, Taa Prajan baan and Taa Yaang Saam Kum. Other the main dance patterns and the receiving role dance patterns, there are Taa Rum Tii Bote and other dance movements in the dance patterns in Pleng Korat.

Currently, Pleng Korat has been supported, conserved and promoted more and more by both the government and private sections through various events. Moreover, the local artists themselves have important role and participation in promoting Pleng Korat by teaching and educating Pleng Korat to the new generations in order to maintain it for the people of Nakhon Ratchasima province.

Article Details

Section
Articles