มุมมองต่อหน้าที่และความพร้อมในการดำเนินงานด้านสุขภาพ ของบุคลากรเทศบาลตำบลจังหวัดพะเยา

Main Article Content

สิทธิโชค หายโสก
อรนุช ภาชื่น
ทัศนีย์ ศิลาวรรณ

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความแตกต่างต่อมุมมองของบุคลากรเทศบาลตำบลต่อหน้าที่และความพร้อมในการดำเนินงานด้านสุขภาพของเทศบาลตำบล โดยยึดตามกรอบการดำเนินงาน พรบ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรเทศบาลตำบล จำนวน 174 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดให้ตอบด้วยตนเองมีผู้ตอบแบบสอบถาม ร้อยละ 87.9

ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรเห็นว่าหน้าที่ของเทศบาลตำบลมีความสำคัญต่อสุขภาพของประชาชนในเกณฑ์สูงร้อยละ 73.9 และปานกลาง ร้อยละ 26.1 แต่เห็นว่าหน้าที่ดังกล่าวสามารถปฏิบัติได้จริงในเกณฑ์สูง ร้อยละ 39.2 และปานกลาง ร้อยละ 58.2 โดยการสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตมีความสำคัญและสามารถปฏิบัติได้จริงมากที่สุด ค่าเฉลี่ยคะแนนมุมมองต่อความสำคัญของหน้าที่ต่อสุขภาพสูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนมุมมองต่อการปฏิบัติได้จริง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันมากที่สุด คือ การรักษาพยาบาล และประเด็นที่แตกต่างกันน้อยที่สุด คือ การบรรเทาสาธารณภัย มุมมองต่อความพร้อมในการดำเนินงานด้านสุขภาพของเทศบาลตำบลอยู่ในเกณฑ์สูง ร้อยละ 43.1 และปานกลางร้อยละ 53.6 โดนประเด็นที่บุคลากรมีความเห็นว่าพร้อมมากที่สุด คือการสร้างภาคีและเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านสุขภาพ

ข้อเสนอแนะจากการวิจัยเทศบาลตำบลควรสร้างความมั่นใจในการทำงานแก่เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานด้านสุขภาพ และเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงานให้สูงขึ้น โดยแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น มอบหมายงานด้านสุขภาพให้บุคลากรที่มีพื้นฐานหรือผู้ที่เรียนจบทางด้านสุขภาพเป็นผู้รับผิดชอบ และเน้นการสร้างเครือข่าย ประสานความร่วมมือกับองค์กรด้านสุขภาพในพื้นที่เพื่อให้การดำเนินงานด้านสุขภาพของเทศบาลตำบลเกิดประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น


Perspective of Personnel Towards the Duties and Readiness for Health Operations of Sub-district Municipalities, Phayao Province

This descriptive research aimed to investigate the perspective of personnel towards the duties and readiness of health operations of Sub-district municipalities in Phayao Province base on the plan and process of decentralization to local governments B.E. 1999, A municipal 1959 B.E. The samples were 174 personnel of Sub-district municipalities. Data were obtained by the self-administered questionnaire and the response rate was 87.9 % collected. Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation and Paired t-test.

The results indicated that 73.9% of personnel thought that municipalities’ duties was highly important and, 26.1% was moderately important, but they thought that those duties could be implemented at a high level for 39.2% and moderate level for 58.2%. of these social welfare and quality of life development were the most importance and practical. The mean score of perspective towards the important of the duties to health was significantly higher than the mean score of perspective towards practical implementation (p-value<0.001), which the most different was treatment and the least different was disaster mitigation. The perspective towards the readiness of health operations was at a high level for 43.1%, and moderate level for 53.6% of which the networking and creating opportunities for public participation in the health operations was the most readiness.

Recommendation the research, the municipality should ensure the officials who responsible for health operations on working and develop their capability by sharing knowledge and experience with other local authorities, assigning health operations to personnel who graduated in health program, and focus on building networks collaboration with health organizations in the area in order to enhance efficiency of the health performance in Sub-district municipalities.

Article Details

Section
Articles