ความคิดเห็นของพนักงานต่อการบริหารตามบรรษัทภิบาลของผู้บริหาร กรณีศึกษา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

Main Article Content

ดร.จตุพร สังขวรรณ

บทคัดย่อ

บรรษัทภิบาลเป็นเครื่องมือที่ช่วยส่งเสริมองค์การให้อยู่รอดได้อย่างยั่งยืน ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วเช่นในปัจจุบัน โดยผ่านการมีส่วนร่วมของพนักงาน การปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ ยึดมั่นคุณธรรมจริยธรรม และโปร่งใสตรวจสอบได้ วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อการบริหารตามหลักบรรษัทภิบาลของผู้บริหาร กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวนทั้งสิ้น 393 คน 


ผลการศึกษาพบว่าพนักงานส่วนใหญ่เป็นพนักงานปฏิบัติการ เพศหญิง มีอายุ 41– 50 ปี  สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี  และปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยธุรกิจการบริการภาคพื้น  โดยพนักงานที่เป็นกลุ่มตัวอย่างไม่แน่ใจว่าผู้บริหารที่ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ผู้อำนวยการใหญ่หรือเทียบเท่าขึ้นไปมีการบริหารตามหลักบรรษัทภิบาลของบริษัทฯ  ซึ่งประกอบด้วย การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์การในระยะยาว ความโปร่งใส ความรับผิดชอบในหน้าที่  ความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติหน้าที่และความเป็นธรรมหรือไม่ทั้งในภาพรวมและทุกด้าน ทั้งนี้ด้านที่มีความไม่แน่ใจมากที่สุดคือ ด้านความเป็นธรรม  รองลงมาคือด้านความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติหน้าที่ และความโปร่งใส จากผลการศึกษาข้างต้น บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ควรมีการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านรรษัทภิบาลแก่ผู้บริหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร หรือกรรมการบริษัทฯ นอกจากนี้ควรมีการเชื่อมโยงผลการประเมิน ด้านบรรษัทภิบาลเข้ากับการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนตำแหน่ง และควรจัดให้บรรษัทภิบาลเป็นวาระการประชุมหลักที่ต้องมีการระบุไว้ในวาระการประชุมในหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเป็นการถ่ายทอด ทบทวน และสร้างความตระหนักแก่พนักงานทุกระดับต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2555). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์.

บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน). (2558). รายงานประจำปี 2558. กรุงเทพฯ: บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน).

บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน). (2558). รายงานการกำกับดูแลกิจการที่ดี ประจำปี 2558. กรุงเทพฯ: บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน).

ภราดร วงศ์ยะรา. (2549). ความคิดเห็นของพนักงาน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ต่อหลักธรรมาภิบาล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

วัชระ คำเขียว. (2558). องค์ประกอบแห่งความเป็นเลิศทางธุรกิจการบินของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

วิชชุดา อุดมภักดี. (2550). การรับรู้ความยุติธรรมกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานปฏิบัติการฝ่ายครัวการบิน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. (การศึกษาอิสระมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

ศรศักดิ์ ชูดำ. (2559). บรรษัทภิบาลในบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

Cameron, E., and Green, M. (2009). Making Sense of Change Management: A Complete Guide to The Models, Tools and Techniques of Organizational Change. (2nd ed.). London: Kong Page Limited.

Hair, Joseph F., Bush, Robert P., & Ortinau, David J. (2000). Marketing Research. MCGRAW-Hill Education.

Organization for Economic Co-Operation and Development. (2004). OECD Principles of Corporate Governance. Paris Cedex : Head of Publications Service.

Yamane, Taro (1973). Statistics : An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.