การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาจากการเขียนบันทึกประจำวัน : กรณีศึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิชาเอกภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก

Main Article Content

Amporn Srisermbhok

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา ว่าการเขียนบันทึกประจำวัน จะสามารถพัฒนาทักษะ
ภาษาอังกฤษของนักศึกษากลุ่มนี้ได้หรือไม่ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการ
อ่านกับพัฒนาการด้านการเขียน โดยกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย นักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษธุรกิจ
ชั้นปีที่ 2 จำนวน 16 คน แบ่งเป็น ชาย 5 คน หญิง 11 คน อายุระหว่าง 19 ถึง 21 ปี ทำการทดลอง
โดยให้กลุ่มตัวอย่างฝึกเขียนบันทึกประจำวันทุกวันเป็นเวลา 5 สัปดาห์ เพื่อศึกษาพัฒนาการด้านการ
สื่อสารภาษาอังกฤษ ในการเรียนรายวิชาทักษะการอ่าน ทั้งนี้นักศึกษาได้รับมอบหมายให้อ่านหนังสือ
นอกเวลาเรื่อง “เจ้าชายน้อย” และเลือกอ่านหนังสืออื่น ๆ ตามความสนใจและนำเสนอในชั้นเรียน หลัง
การอ่านมีการอภิปรายเนื้อหาที่นำเสนอและข้อคิดเห็นจากเพื่อนร่วมชั้นตลอดจนคำแนะนำจากผู้สอน
กลุ่มตัวอย่างจะบันทึกสะท้อนมุมมองของตนเองได้อย่างเสรี เพื่อฝึกทักษะการแสดงออก และแก้ไข
ข้อบกพร่องในการเรียนรู้ของตนเอง การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ข้อมูลจากบันทึก
ประจำวันของนักศึกษา มาวิเคราะห์เชิงพรรณนา พร้อมทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาอ้างอิง
ผลการทดลองพบว่า การเขียนบันทึกประจำวันเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาทักษะการ
สื่อสารภาษาอังกฤษของกลุ่มทดลอง จากการเขียนบรรยายความรู้สึกของตนเองที่มีต่อบทเรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bailey, K. M. (1996). Working for washback : A review of the washback concept on language testing. Language Testing, 13(3), 257-279.

Barjesteh, Hamed., Vaseghi, Reza., & Gholami, Reza. (2011). The effect of diary writing on EFL college students’ writing improvement and attitudes. Proceedings : International
Conference on Languages, Literature and Linguistics. IPEDR. Vol.26. Singapore:IACSIT Press.

Brown, R., Pressley, M., Meter, P. V., & Schuder, T. (1996). A quasi- experimental validation of transactional strategies instruction with low-achieving second-grade readers. Journal of Educational Psychology, 88(1), 18-37.

Bryson, Bill. (2001). The mother tongue. New York: Harper Collins.

Davies, Brett. (2015). Using personal diaries to improve students’ academic writing skills in English. (Unpublished paper). Showa Women’s University, Japan.

Hargreaves, Andy., & Fullan, Michael. (2012). Professional capital : Transforming teaching in every school. London: Routledge.

Lee, H. (2002). Diaries : Listening to ‘voices’ from the multicultural classroom. English Language Teaching (ELT) Journal, 56(3), 227-239.

McDonough, J. (1994). A teacher looks at teachers diaries. English Language Teaching(ELT) Journal, 48(1), 57-65.

Marefat, Fahimeh. (2002). The impact of diary analysis on teaching/learning writing. Regional Language Centre (RELC) Journal, 33(1), 101-121.

Neuman, S. B., & Roskos, K. (1997). Literacy knowledge in practice : Contexts of participation In young writers and readers. Reading Research Quarterly, 32(1), 10-32.

Rasouli, Giti., & Shoari, Elnaz. (2015). The effect of diary writing on improving Iranian Young EFL learners’ L2 vocabulary learning. Journal of Applied Linguistics
and Language Research, 2(8), 13-19.

Sadeg, Taiba M., Akbar, Rahima S.,Taqi, Hanan A., & Shuqair, Khaled M. (2015). EFL writing students’ perception of the effect of diary writing. European American Journals,
3(2), 54-63.

Spivey, N. N., & King, J. R. (1989). Readers as writers composing from sources. Reading Research Quarterly, 24(1), 7-26.

Yavarian, Maryam. (2015).The effect of diary writing on learning grammar by intermediate EFL learners. Research Journal of English Language and Literature (RJELAL) International Journal, 3(4), 184-188.

Yi, yi-yeon. (2008). The use of diaries as a qualitative research method to investigate teachers’ perception and use of rating scheme. Pan-Pacific Association of Applied Linguistics, 12(1), 1-10.

Zhao, Huahui. (2011). Using learners’ diaries to investigate the influence of students’ English language proficiency on peer assessment. Journal of Academic Writing, 1(1), 126-134.