ประสบการณ์ความเจ็บป่วยและตัวตนของผู้ป่วยที่ผ่าน การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ

Main Article Content

กิ่งแก้ว ขวัญข้าว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ความเจ็บป่วยของผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ รวมทั้งการสร้างตัวตนและการจัดการกับความเจ็บป่วยของผู้ป่วยแต่ละคนที่แตกต่างกัน พื้นที่ศึกษาเป็นโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกของไทย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม 2555 ถึงเดือนมิถุนายน 2556 ข้อมูลหลักได้จากการสัมภาษณ์แบบเล่าเรื่องของผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 7 ราย ร่วมกับการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ความน่าเชื่อถือของข้อมูลมีการตรวจสอบสามเส้า ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ผู้ป่วย สัมภาษณ์เชิงลึกศัลยแพทย์ทรวงอกและพยาบาลอาวุโสประจำแผนกตรวจโรคผู้ป่วยศัลยกรรม และการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วย ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินนโยบายสุขภาพใช้งบประมาณจำนวนมากในการรักษาประชาชน การพัฒนาศูนย์โรคหัวใจ มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงที่เป็นไปตามระบบทุนทุนนิยม ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วยที่ผ่าตัดกับศัลยแพทย์ เป็นความสัมพันธ์ที่ผู้ป่วยและญาติต้องลงนามยินยอมให้ศัลยแพทย์ผ่าตัด ตัวตนของผู้ป่วยก่อนเข้ารับการผ่าตัดมีดังนี้ 1) ผู้ที่ต้องเผชิญหน้ากับความตาย 2) ผู้ที่มีเคราะห์กรรม  ตัวตนของผู้ป่วยหลังผ่าตัดมีดังนี้ 1) ผู้ที่เป็นอมนุษย์ 2) ผู้ที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างไม่มีวันจบสิ้น และ 3) ผู้ที่มีร่างกายไม่สอดประสานกับเทคโนโลยีทางการแพทย์


ข้อเสนอแนะจากการวิจัย การพัฒนาคุณภาพการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจโดยพิจารณาเฉพาะความปลอดภัยของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดจึงไม่เพียงพอ การให้ความสำคัญกับมิติทางวัฒนธรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับความเชื่อด้านศาสนา และการให้ความสำคัญกับคำบอกเล่าของผู้ป่วยเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังการผ่าตัดจะช่วยเยียวยาสุขภาพแบบองค์รวมให้แก่ผู้ป่วย และผู้ป่วยหลังการผ่าตัด ให้ฟื้นฟูสุขภาพหลังการผ่าตัดได้เร็วขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พินติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

นพรัตน์ ธนะชัยขันธ์. (2543). ความก้าวหน้าในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ. ใน ธีระ ศิริสันธนะ, วรวิทย์ เลาห์เรณู และอรรถวุฒิ ดีสมโชค (บรรณาธิการ). ฟื้นฟูวิชาการอายุรศาสตร์ เชียงใหม่ . เชียงใหม่: ธนะบรรณการพิมพ์. 213-228.

นภาภรณ์ หะวานนท์. (2554). วิธีการศึกษาเรื่องเล่า: จุดเปลี่ยนของการวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์. ใน กฤตยา อาชวนิจกุล (บรรณาธิการ). การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “จินตนาการใหม่ทางสังคมวิทยา”. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา. 202-227.

สมชาติ โลจายะ, บุญชอบ พงษ์พานิชย์ และพันธุ์พิษณุ์ สาครพันธุ์. (2536). ตำราโรคหัวใจและหลอดเลือด. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร.

ไสยเวทย์ เทวาภูมิ. (2545). ไสยศาสตร์และความเชื่อโบราณ. กรุงเทพฯ: ไพลินบุ๊คเน็ต.สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2554). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปี 2555-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

Bear, H.A., Singer, M. & Susser, I. (1997). Medical Anthropology and the World System: A Critical Perspective. CT: Bergin & Garvey.

Biehl, J., Good, B. & Kleinman A. (2007). Subjectivity. London: California Press.

Clarke, A.E., Shim, J.K., Mamo, L., Fosket, J.R. & Fishman, J.R. (2003). Biomedicalization: Technoscientific Transformations of Health, Illness, and U.S. Biomedicine. American Sociological Review. 68: 161-194.

Das, V. (2000). The Practice of Organ Transplants: Networks, Documents, Translations.

In Lock, M., Young, A., & Cambrosio, A. (2000). Living and Working with the New Medical Technologies. Cambridge: Cambridge University Press. 263-287.

Doyal, L. (1994). Changing medicine? Gender and the politics of health care. In Gabe, J., Kelleher D. & Williams G. (Eds.). Changing Medicine. London: Routledge. 140-159.

Fisher, J.A.& Monahan T. (2011). The “biosecuritization” of healthcare delivery: Examples of post-9/11 technological imperatives. Social Science & Medicine. 72: 545-552.

Good, M. D. (2007). The Medical Imaginary and the Biotechnical Embrace: Subjective Experiences of Clinical Scientists and Patients. In Biehl, J., Good, B. & Kleinman A. (Eds.). Subjectivity. London: California Press. 362-380.

Good, M.D., Brodwin, P. E., Good, B.J. & Kleinman, A. (1992). Pain as Human Experience: An Anthropological Perspective. London: California Press.

Haraway, D. (2008). A Manifesto for Cyborgs: Science, Technology, and Socialist Feminism in the 1980s. In Alcoff, L.M. & Mendieta, E. Identities. Victoria: Blackwell Publishing. 369-391.

Johnson, J.L. (1991). Learning to Live Again: The Process of Adjustment Following a Heart Attack. In Morse, J.M. & Johnson, J.L. (Eds.). The Illness Experience: Dimensions of Suffering. California: SAGE. 13-88.

Kleinman A. (2007). Subjectivity. London: California Press. 381-396.

Lapum, J., Angus J. E., Peter, E. & Watt-Watson J. (2010). Patients’ narrative accounts of open-heart surgery and recovery: Authorial voice of technology. Social Science & Medicine. 70: 754-762.

Lock, M. (2000). On dying twice: culture, technology and the determination of death. In Lock, M., Young, A., & Cambrosio, A. (Eds.). Living and Working with the New Medical Technologies. Cambridge: Cambridge University Press. 233-262.

Portor, R. (2006). The Cambridge History of Medicine. Cambridge: Cambridge
University Press.

Rujirawat, P., Rattanachotphanit, T., Samkeaw, T., Cheawchanwattana, A., Johns Pratheepawanit, N., Limwattananon, C., & Sakolchai, S. (2008). Economic Evaluation of Disease Management Program: A Case Study of Open Heart
Surgery. IJPS. 4(1). 64-76.