ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก วิทยาเขตบางนา

Main Article Content

สุมิตรา เชตรี
ศักดิ์สินี กลิ่นสุนทร
ภูษิตย์ วงษ์เล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก วิทยาเขตบางนา 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก วิทยาเขตบางนา 3) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก วิทยาเขตบางนา และ 4) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก วิทยาเขตบางนา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีของวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก วิทยาเขตบางนา ที่ลงทะเบียนเรียนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 341 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมติฐาน โดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน โดยการกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


ผลการวิจัยพบว่า 1) การตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก วิทยาเขตบางนา ในภาพรวมมีการตัดสินใจอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก วิทยาเขตบางนา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีผลต่อการตัดสินใจสูงสุด คือ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาด 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก วิทยาเขตบางนา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (X3) ด้านราคา (X2) และด้านส่งเสริมการตลาด (X4) สามารถร่วมกันพยากรณ์การตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก วิทยาเขตบางนา ได้ร้อยละ 56.20

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญาภัค พันธุมจินดา. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการซื้อสินคาออนไลน์ของกลุ่มคนทำงานในกรุงเทพมหานครที่มีอายุ 22 ปีขึ้นไป. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).

เจนจิรา ยืนยง, ศศิวิมล หนูทรัพย์, อรวรรณ ไชยสาร, ปาลิตา ซื่อตรง, และกรรณิการ์ ไชยยัง. (2561). Social Network สังคมออนไลน์_05. สืบค้น 12 ธันวาคม 2561, จาก https://sites.google.com/site/socialnetworksangkhmxxnlin05/khwam-hmay-khxng-kha-wasocial-network-sangkhm-xxnlin

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2559). วิธีการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: มีนเซอร์วิสซัพพลาย.

ภูษิตย์ วงษ์เล็ก. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการกรณีศึกษาบริษัทบิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสท์เทอร์น, 12(1), 206–207.

วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก. (2560). สถิตินักศึกษาระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2560 วิทยาเขตบางนา. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2552). พฤติกรรมผู้บริโภค ฉบับพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: วิสิทธิ์พัฒนา.

ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2555). หลักการตลาด(Principle of marketing) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ท้อป.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2560). ETDA เผยรายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2560(Thailand Internet User Profile 2017). สืบค้น 4 พฤศจิกายน 2561, จาก https://www.etda.or.th/content/thailand-internet-user-profile-2017-and-value-of-e-commerce-survey-in-thailand-2017l-press-conference.html

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561ก). การสำรวจสถานภาพการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย พ.ศ.2557. สืบค้น 16 ธันวาคม 2561, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้าน ICT/สถานภาพพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์/สำรวจสถานภาพการพาณิชย์
อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย_2557/7.สรุปผลที่สาคัญ.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561ข). ทิศทาง e – commerce ไทย. สืบค้น 16 ธันวาคม 2561, จาก http://service.nso.go.th/nso/web/article/article_32.html

สุนันทา จงจิตร์. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออุปกรณ์เครื่องครัวผ่านทีวีโฮมช้อปปิ้งของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด).

Cronbach, Lee J. (1970). Essential of psychological testing (3rd ed.). NY: Harper & Row.

Super Website. (2561). เคล็ดลับการทำเว็บไซต์. สืบค้น 15 ธันวาคม 2561, จาก http://www.superwebsite.com/th/tips/view/5-เทคนิคการตลาดในการขายสินค้าออนไลน์